วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

หน้า 60 ,61 ,62

ลักษณะพฤติกรรมชี้บ่ง ได้แก่
1. ไม่ยอมรับส่วนแบ่งในสิ่งที่ตนมีอยู่แล้วและไม่จำเป็น
2. เสียสละในส่วนแบ่งของตนให้ผู้ที่ขาดแคลนและมีความจำเป็นกว่า
3. เลือกฟังคำพูดที่ก่อให้เกิดไมตรี
4. เสนอตัวช่วยเหลือแนะนำทบทวนฝห้กับผู้ที่ยังไม่เข้าใจ
5. แสดงความยินดีในความสุ๘ ความสำเร็จของผู้อื่น
6. ให้เพื่อนหยิบยืมหนังสือ เครื่องเขียนเมื่อตนไม่จำเป็นต้องใช้
7. ไม่รังแกสัตว์ เพื่อน
8. พูดสุภาพอ่อนโยนต่อบุคคลทั่วไป
9. แสดงความเคารพนอบน้อม
10. แบ่งปันสิ่งของเครื่องใช้แก่ผู้อื่นตามกำลังของตน
11. พูดปลอบโยนเมื่อผู้อื่นมีทุกข์
12. ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น
13. ไกล่เกลี่ยความแตกแยกในหมู่คณะ
14. ไม่นำเอาคำพูดที่ไม่ดีจากคนอื่นมาเล่าให้เพื่อนฟัง
15. แสดงความเป็นเพื่อน
16. แนะนำอธิบายคนอื่น ๆ ในการเรียนและการปฏิบัติตน
17. พูดจาเป็นการให้กำลังใจแก่เพื่อน ๆ
18. ลงมือช่วยเพื่อนเมื่อได้รับการขอร้อง
19. เมื่อทำงานร่วมกันก็รับผิดชอบและช่วยกันแก้ไขร่วมกัน
20. ไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตน
21. บำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม
22. พูดชักชวนผู้อื่นให้ปฏิบัติเพื่อส่วนรวม
23. พูดมีเหตุผล
24. เมื่อทำงานเป็นกลุ่มก็ ไม่นำเอาผลงานของกลุ่มมาเป็นของตน
25. ไม่พูดจาให้กลุ่มหมดกำลังใจในการทำงาน
26. ไม่นำเอาส่วนของส่วนรวมมาใช้ประโยชน์ส่วนตัว
27. ร่วมลงมือช่วยกลุ่มแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยตลอด
28. เลือกพูดแต่ในสิ่งดีงามของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม

4. สติ-สัมปชัญญะ
เป็นจริยธรรม สำคัญที่เน้นการควบคุมตนเองให้มีความพร้อม มีสภาพตื่นตัวฉับไวในการรับรู้ทางประสาทสัมผัส ในการตัดสินยใจ และในการกระทำพฤติกรรมอย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของการสำรวบคอบ และระมัดระวัง
ลักษณะพฤติกรรมชี้บ่ง ได้แก่
1. รู้ตัวตลอดเวลาว่าตนเองกำลังคิดและทำอะไร
2. ตระหนักในข้อดีและข้อเสียของพฤติกรรมของตน
3. มีความฉับพลันไวในการรับรู้สิ่งเร้าภานนอก
4. ยับยั้งการแสดงพฤติกรรมของตนได้ทันก่อนที่จะก่อให้เกิดผลเสียหายทั้งความพร้อมที่จะแก้ปัญหา
5. เมื่อประสบปัญหาข้อยุ่งยากก็จะควบคุมอารมณ์และความคิดของตนให้มีความพร้อมที่จะแก้ปัญหา
6. ควบคุมตนเองไำม่ให้ตกเป็นทาสของสิ่งยั่วยุมอมเมา
7. ระลึกมั่นในความถูกต้องดีงามประจำใจโดยตลอด
8. ควบคุมตนเองไม่ให้เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย
10. ตักเตือนผู้อื่นให้ยับยั้งควบคุมพฤติกรรมของเขา ที่กอาจก่อให้เกิดความเสียหาย

5. ความไม่ประมาท
เป็นจริยธรรมเสริม "สติ-สัมปชัญญะ" ที่เน้นการพิจารณาสภาพการณ์แวดล้อมพิจารณาถึงผลที่จะตามมาของการกระทำ หรือไม้กระทำพฤติกรรมต่าง ๆ แล้วดำเนินการวาสงแผนการจัดสถานการณ์หรือกระทำ เพื่อให้บังเกิดผลดีที่สุดอย่างเหมาะสม
ลักษณะพฤติกรรมชี้บ่ง ได้แก่
1. ทำงานด้วยความระมัดระวัง ตั้งใจ ไม่ผลึผลามและเลินเล่อ
2. เตรียมเครื่องมือใช้ประกอบการเรียนให้พร้อมอยู่เสมอ เช่นดินสอ ปากกา ยางลบ ไม้บรรทัด ฯลฯ
3. เชื่อฟังคำสั่งสอนตักเตือนของพ่อแม่ ครู อาจารย์ และปฏิบัติตามทุกครั้ง
4. เมื่อมีปัญหาให้ปรึกษาขอคำแนะนำจากพ่อแม่ ครูอาจารย์ หรือผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิด
5. ดูหนังสืออย่างสม่ำเสมอไม่รอไว้จนถึงวันสอบ
6. ทำงานด้วยความละเอียดรอบคอบและทบทวนทุกครั้ง
7. หมั่นดูแลรักษาเครื่องมือ เครื่องใช่อยู่ในสภาพดีเสมอ
8. หมั่นปรึกษาและขอคำแนะนำจากผู้รู้ในการทำงานทุกครั้ง
9. สร้างสุขนิสัยที่ดีและหลีกเหลี่ยงสิ่งที่จะให้โทษแก่สุขภาพและร่างกายของตน
10. หมั่นศึกษาหาความรู้ให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ
11. มีอารมณ์หนักแน่นเมื่อเผชิญกับปัญหาหรืออุปสรรคใด ๆ
12. ตรวจสอบผลงานของตนเองเสมอ และนำข้อเสียมาปรับปรุงแก้ไข
13. มีการวางแผนงานและคำนึงถึงผลดี - ผลเสียของงานที่จะทำก่อนทุกครั้ง
14. มีความระมัดระวังและปฏิบัติงานตามระเบียบ หรือกฎเกณฑ์ขอสังคมและบ้านเมือง
15. คอยดูแล ตรวจสอบสุขภาพของตนให้แข็งแรงและสมบูรณ์อยู่เสมอ
16. รู้จักควบคุมตนเองคือมีสติรอบคอบเตรียมพร้อมที่จะรับสถานการณ์และใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาทุกขณะ
17. ไม่เล่นหรือทำของผู้อื่นให้เสียหาย
18. ระมัดระวังในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
19. ดูแล ระวังรักษาของใช้ของผู้อื่นให้เหมือนของตน
20. ไม่ทำงานทีเสี่ยงต่ออันตราย
21. ทำงานร่วมกับผู้อื่นด้วยความรอบคอบและตั้งใจ
22. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และใช้เหตุผลประกอบในการทำงานทุกครั้ง
23. ศึกษาแนะนำการใช้เครื่องมือเครื่องใช้ที่ถูกวิธีแก่ผู้ร่วมงาน ไม่ให้เสียหายและเป็นอันตราย
24. ดูแลรักษาของใช้ให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ
25. ไม่ฟังคำยุยงของผู้อื่น ต้องคิดพิจารณาและต้องไตร่ตรองให้รอบคอบทุกครั้งในการทำงาน
26. ไม่ทำลายทรัพย์สินที่เป็นของส่วนรวม

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

มงคลชีวิต 38 ประการ

มงคลที่ ๑ : ไม่คบคนพาล

ท่านว่าลักษณะของคนพาลมี ๓ ประการคือ

๑. คิดชั่ว คือการมีจิตคิดอยากได้ในทางทุจริต มีความพยาบาท และมิจฉาทิฏฐิ คือเห็นผิดเป็นชอบ

๒. พูดชั่ว คือคำพูดที่ประกอบไปด้วยวจีทุจริตเช่น พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ

๓. ทำชั่ว คือทำอะไรที่ประกอบด้วยกายทุจริตเช่น การฆ่าสัตว์ ลักขโมย ฉ้อโกง ฉุดคร่าอนาจาร ประพฤติผิดในกาม

รูปแบบของคนพาล มีข้อควรสังเกตุคือ

๑. ชอบแนะนำไปในทางที่ผิด หรือที่ไม่ควรแนะนำ อาทิเช่น แนะนำให้ไปเล่นการพนัน ให้ไปลักขโมย ให้กินยาบ้า ให้เสพยา ชวนไปฉุดคร่าอนาจาร เป็นต้น เหล่านี้ถือว่าเป็นพาล

๒. ชอบทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ อาทิเช่น ไม่ทำงานตามหน้าที่ของตนให้เรียบร้อย แต่กลับชอบจะไปก้าวก่ายยุ่งกับหน้าที่การงานของผู้อื่น หรือไปจับผิดเพื่อนร่วมงาน แกล้ง ยุยง นินทาว่าร้ายกันและกัน เป็นต้น

๓. ชอบทำผิดโดยเห็นสิ่งผิดเป็นของดี อาทิเช่น การสูบยาได้เป็นฮีโร่ เห็นคนที่ซื่อสัตย์เป็นคนโง่ไม่กินตามน้ำ ชอบรับสินบน ทุจริตในหน้าที่ หรือช่วยพวกพ้องให้พ้นจากความผิด เป็นต้น

๔. จะโกรธเคืองเมื่อพูดเตือน อาทิเช่น การเตือนเรื่องการเที่ยวเตร่ เตือนเรื่องการดื่มเหล้า กลับบ้านดึก เตือนเรื่องการคบเพื่อนเป็นต้น คนพวกนี้จะโกรธเมื่อได้รับการตักเตือน และไม่รับฟัง

๕. ไม่มีระเบียบวินัย อาทิเช่น ไม่เข้าคิวตามลำดับก่อนหลัง แต่ชอบแซงคิวอย่างหน้าด้านๆ ทิ้งขยะลงคลอง หรือข้างทาง ไม่เคารพกฏหมายของบ้านเมือง หรือของท้องถิ่น เป็นต้น



มงคลที่ ๒ : การคบบัณฑิต
บัณฑิต หมายถึงผู้ทรงความรู้ มีปัญญา มีจิตใจที่งาม และมีการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง รู้ดีรู้ชั่ว (ไม่ใช่คนที่จบปริญญาโดยนัย) มีลักษณะดังนี้คือ

๑. เป็นคนคิดดี คือการไม่คิดละโมบ ไม่พยาบาทปองร้ายใคร รู้จักให้อภัย เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ ความกตัญญูรู้คุณเป็นต้น

๒. เป็นคนพูดดี คือวจีสุจริต พูดจริง ทำจริงไม่โกหก ไม่พูดหยาบ ถากถาง นินทาว่าร้าย

๓. เป็นคนทำดี คือทำอาชีพสุจริต มีเมตตา ทำทานเป็นปกตินิสัย อยู่ในศีลธรรม ทำสมาธิภาวนา

รูปแบบของบัณฑิต มีข้อควรสังเกตุคือ

๑. ชอบชักนำในทางที่ถูกที่ควร อาทิเช่นการชักนำให้เลิกทำในสิ่งที่ผิด ตักเตือนให้ทำความดีอย่างเช่น ให้เลิกเล่นการพนันเป็นต้น

๒. ชอบทำในสิ่งที่เป็นธุระ อาทิเช่นการทำหน้าที่ของตนให้ลุล่วง และใช้เวลาที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ ไม่ก้าวก่ายเรื่องของผู้อื่นเว้นแต่จะได้รับการร้องขอ

๓. ชอบทำและแนะนำสิ่งที่ถูกที่ควร อาทิเช่นการพูดและทำอย่างตรงไปตรงมา แนะนำการทำทานที่ถูกต้อง ทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อคนอื่น

๔. รับฟังดี ไม่โกรธ อาทิเช่นเมื่อมีคนมาว่ากล่าวก็ไม่ถือโทษ หรือโกรธ หรือทำอวดดี แต่จะรับฟังแล้วนำไปพิจารณาโดยยุติธรรม แล้วนำมาแก้ไขปรับปรุง

๕. รู้ระเบียบ กฏกติกามรรยาทที่ดี อาทิเช่นการรักษาระเบียบวินัยขององค์กร เพื่อให้หมู่คณะมีความเป็นระเบียบ และการดำเนินงานไม่สับสน หรือการรักษาความสะอาด ปฏิบัติ และเคารพกฏของสถานที่ ไม่ทำตามอำเภอใจ


มงคลที่ ๓. การบูชาบุคคลที่ควรบูชา

การบูชา คือการแสดงความเคารพบุคคลที่เรานับถือ ยกย่อง เลื่อมใสในบุคคลคนนั้น ซึ่งการบูชาแบ่งออกเป็น ๒ อย่างคือ

๑. อามิสบูชา คือการบูชาด้วยสิ่งของเช่น การนำเงินให้พ่อแม่ไว้ใช้จ่าย หรือมอบทรัพย์สินให้พ่อแม่ หรือการนำดอกไม้ ธูปเทียนไปบูชาพระก็ถือเป็นอามิสบูชาเป้นต้น

๒.ปฏิบัติบูชา คือการบูชาด้วยการเจริญสมาธิภาวนา การฝึกจิตให้ไม่ฟุ้งซ่าน เห็นความจริงในความเป็นไปของโลกเป็นต้น

บุคคลที่ควรบูชา มีดังนี้คือ

๑.พระพุทธเจ้า (คงไม่ต้องอธิบาย)

๒.พระปัจเจกพระพุทธเจ้า หมายถึงพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา

๓.พระมหากษัตริย์ผู้ตั้งอยู่ในทศพิศราชธรรม

๔.บิดามารดา

๕.ครูอาจารย์ ที่มีความรู้ดี มีความสามารถ และประพฤติดี

๖.อุปัชฌาย์ หรือผู้บังคับบัญชาที่มีความประพฤติดี ตั้งอยู่ในธรรม


มงคลที่ ๔. การอยู่ในถิ่นอันสมควร

ถิ่นอันสมควรควรประกอบด้วยสิ่งแวดล้อม ๔ อย่างได้แก่

๑.อาวาสเป็นที่สบาย หมายถึงอยู่แล้วสบาย เช่นสะอาด เดินทางไปมาสะดวก อากาศดี เป็นแหล่งชุมชน ไม่มีแหล่งอบายมุขเป็นต้น

๒.อาหารเป็นที่สบาย หมายถึงอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ เช่นมีแหล่งอาหารที่สามารถจัดซื้อหามาได้ง่าย เป็นต้น

๓.บุคคลเป็นที่สบาย หมายถึงที่ที่มีคนดี จิตใจโอบอ้อมอารี ถ้อยทีถ้อยอาศัย มีศีลธรรม ไม่มีโจร นักเลง หรือใกล้แหล่งอิทธิพลเป็นต้น

๔.ธรรมะเป็นที่สบาย หมายถึงมีที่พึ่งด้านธรรมะ มีที่ฟังธรรมเช่น มีวัดอยู่ในละแวกนั้น มีโรงเรียน หรือแหล่งศึกษาหาความรู้เป็นต้น


มงคลที่ ๕. เคยทำบุญมาก่อน

ขึ้นชื่อว่าบุญนั้น มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้คือ

๑. ทำให้กาย วาจา และใจ สะอาดได้

๒. นำมาซึ่งความสุข

๓. ติดตามไปได้ หมายถึงบุญจะติดตัวเราไปได้ตลอดจนถึงชาติหน้า

๔. เป็นของเฉพาะตน หมายถึงขอยืม หรือแบ่งกันไม่ได้ ทำเองได้เอง

๕. เป็นที่มาของโภคทรัพย์ทั้งหลาย คือว่าผลของบุญจะบันดาลให้เกิดขึ้นได้เองโดยไม่ได้หวังผล

๖. ให้มนุษย์สมบัติ ทิพย์สมบัติ และนิพพานสมบัติแก่เราได้ หมายถึงความสมบูรณ์ตั้งแต่ทางโลก จนถึงนิพพานได้เลย

๗. เป็นปัจจัยให้ถึงซึ่งนิพพาน ก็คือเป็นปัจจัยในการส่งเสริมให้บรรลุถึงนิพพานได้เร็วขึ้นเมื่อปฏิบัติ

๘. เป็นเกราะป้องกันภัยในวัฏสังสาร หมายถึงในวงจรการเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือที่เรียกว่าเวียนว่ายตายเกิดนั้น บุญจะคุ้มครองให้ผู้นั้นเกิดในที่ดี อยู่อย่างมีความสุข หรือตายอย่างไม่ทรมาน ขึ้นอยู่กับกำลังบุญที่สร้างสมมา

การทำบุญนั้นมีหลายวิธี แต่พอสรุปได้สั้นๆดังนี้คือ

๑.การทำทาน

๒.การรักษาศีล

๓.การเจริญภาวนา


มงคลที่ ๖. การตั้งตนชอบ

หมายถึงการดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมาย ด้วยความถูกต้องและสุจริต อยู่ในสัมมาอาชีพ มีแผนการที่จะไปให้ถึงจุดหมายนั้นด้วยความไม่ประมาท มีการเตรียมพร้อม และมีความอดทนไม่ละทิ้งกลางคัน


มงคลที่ ๗. ความเป็นพหูสูตร

คือเป็นผู้ที่ฟังมาก เล่าเรียนมาก เป็นผู้รอบรู้ โดยมีลักษณะดังนี้คือ

๑.รู้ลึก คือการรู้ในสิ่งนั้นๆ เรื่องนั้นๆ อย่างหมดจดทุกแง่ทุกมุม อย่างมีเหตุมีผล รู้ถึงสาเหตุจนเรียกว่าความชำนาญ

๒.รู้รอบ คือการรู้จักช่างสังเกตในสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่นเหตุการณ์แวดล้อมเป็นต้น

๓.รู้กว้าง คือการรู้ในสิ่งใกล้เคียงกับเรื่องนั้นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน สัมพันธ์กันเป็นต้น

๔.รู้ไกล คือการศึกษาถึงความเป็นไปได้ ผลในอนาคตเป็นต้น

ถ้าอยากจะเป็นพหูสูตก็ควรต้องมีคุณสมบัติดังว่านี้คือ

๑.ความตั้งใจฟัง ก็คือชอบฟัง ชอบอ่านหาความรู้ และค้นคว้าเป็นต้น

๒.ความตั้งใจจำ ก็คือรู้จักวิธีจำ โดยตั้งใจอ่านหรือฟังในสิ่งนั้นๆ และจับใจความให้ได้

๓.ความตั้งใจท่อง ก็คือท่องให้รู้โดยอัตโนมัติ ไม่ลืม ในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ

๔.ความตั้งใจพิจารณา ก็คือการรู้จักพิจารณา ตรึกตรองในสิ่งนั้นๆอย่างทะลุปรุโปร่ง

๕.ความเข้าใจในปัญหา ก็คือการรู้อย่างแจ่มแจ้งในปัญหาอย่างถ่องแท้ด้วยปัญญา


มงคลที่ ๘. การรอบรู้ในศิลปะ

ศิลปะ คือสิ่งที่แสดงออกถึงความงดงาม และมีความสุนทรีย์ โดยลักษณะของมันมีดังนี้คือ

๑.มีความปราณีต

๒.ทำให้ของดูมีค่ามากขึ้น

๓.ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

๔.ไม่ทำให้เกิดกามกำเริบ

๕.ไม่ทำให้เกิดความพยาบาท

๖.ไม่ทำให้เกิดความเบียดเบียน

ถ้าท่านอยากเป็นคนมีศิลปะ ควรต้องฝึกให้มีคุณสมบัติเหล่านี้ไว้ในตัวคือ

๑.มีศรัทธาในความงดงามของสิ่งต่างๆ

๒.หมั่นสังเกตและพิจารณา

๓.มีความปราณีต อารมณ์ละเอียดอ่อน

๔.เป็นคนสุขุม มีความคิดสร้างสรรค


มงคลที่ ๙. มีวินัยที่ดี

วินัย ก็คือข้อกำหนด ข้อบังคับ กฏเกณฑ์เพื่อควบคุมให้มีความเป็นระเบียบนั่นเอง มีทั้งวินัยของสงฆ์และของคนทั่วไป สำหรับของสงฆ์นั้นมีทั้งหมด ๗ อย่างหรือเรียกว่า อนาคาริยวินัย ส่วนของบุคคลทั่วไปก็มี ๑๐ อย่าง คือการละเว้นจากอกุศลกรรม ๑๐ ประการ

อนาคาริยวินัยของพระมีดังนี้

๑.ปาฏิโมกขสังวร คือการอยู่ในศีลทั้งหมด ๒๒๗ ข้อ การผิดศีลข้อใดข้อหนึ่งก็ถือว่าต้องโทษแล้วแต่ความหนักเบา เรียงลำดับกันไปตั้งแต่ ขั้นปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต เป็นต้น (ความหมายของแต่ละคำมันต้องอธิบายเยอะ จะไม่กล่าวในที่นี้)

๒.อินทรียสังวร คือการสำรวมอายตนะทั้ง ๕ และกาย วาจา ใจ ให้อยู่กับร่องกับรอย โดยอย่าไปเพลิดเพลินติดกับสิ่งที่มาสัมผัสเหล่านั้น

๓.อาชีวปาริสุทธิสังวร คือการหาเลี้ยงชีพในทางที่ชอบ นั่นก็คือการออกบิณฑบาตร ไม่ได้เรียกร้อง เรี่ยไรหรือเที่ยวขอเงินชาวบ้านมาเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของตัวเอง

๔.ปัจจยปัจจเวกขณะ คือการพิจารณาในสิ่งของทั้งหลายถึงคุณประโยชน์โดยเนื้อแท้ของสิ่งของเหล่านั้นอย่างแท้จริง โดยใช้เพื่อบริโภค เพื่อประโยชน์ ความอยู่รอด และความเป็นไปของชีวิตเท่านั้น

วินัยสำหรับฆราวาส หรือบุคคลทั่วไป เรียกว่าอาคาริยวินัย มีดังนี้ (อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ)

๑.ไม่ฆ่าชีวิตคน หรือสัตว์ไม่ว่าน้อย ใหญ่

๒.ไม่ลักทรัพย์ ยักยอกเงิน สิ่งของมาเป็นของตัว

๓.ไม่ประพฤติผิดในกาม ผิดลูกผิดเมีย ข่มขืนกระทำชำเรา

๔.ไม่พูดโกหก หลอกลวงให้หลงเชื่อ หรือชวนเชื่อ

๕.ไม่พูดส่อเสียด นินทาว่าร้าย ยุยงให้คนแตกแยกกัน

๖.ไม่พูดจาหยาบคาย ให้เป็นที่แสลงหูคนอื่น

๗.ไม่พูดจาไร้สาระ หรือที่เรียกว่าพูดจาเพ้อเจ้อไม่มีสาระ เหตุผล หรือประโยชน์อันใด

๘.ไม่โลภอยากได้ของเขา คือมีความคิดอยากเอาของคนอื่นมาเป็นของเรา

๙.ไม่คิดร้าย ผูกใจเจ็บ แค้น ปองร้ายคนอื่น

๑๐.ไม่เห็นผิดเป็นชอบ เช่น เห็นว่าพ่อแม่ไม่มีความสำคัญ บุญหรือกรรมไม่มีจริงเป็นต้น



มงคลที่ ๑๐.กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต

คำว่าวาจาอันเป็นสุภาษิตในที่นี้มิได้หมายถึงเพียงว่าต้องเป็นคำร้อยกรอง ร้อยแก้ว เป็นคำคมบาดใจมีความหมายลึกซึ้งเท่านั้น แต่รวมถึงคำพูดที่ดี มีประโยชน์ต่อผู้ฟัง ซึ่งสรุปว่าประกอบด้วยลักษณะดังนี้

๑.ต้องเป็นคำจริง คือข้อมูลที่ถูกต้อง มีหลักฐานอ้างอิงได้ ไม่ได้ปั้นแต่งขึ้นมาพูด

๒.ต้องเป็นคำสุภาพ คือพูดด้วยภาษาที่สุภาพ มีความไพเราะในถ้อยคำ ไม่มีคำหยาบโลน หรือคำด่า

๓.พูดแล้วมีประโยชน์ คือมีประโยชน์ต่อผู้ฟังถ้าหากนำแนวทางไปคิด หรือปฏิบัติในทางสร้างสรรค์

๔.พูดด้วยจิตที่มีเมตตา คือพูดด้วยจิตใจที่มีความปรารถนาดีต่อผู้ฟัง มีความจริงใจต่อผู้ฟัง

๕.พูดได้ถูกกาลเทศะ คือพูดในสถานที่เหมาะสม และในเวลาที่เหมาะสม โดยความเหมาะสมจะมีมากน้อยเช่นไรก็ขึ้นอยู่กับเรื่องที่พู



อ้างอิง : http://www.fungdham.com/mongkhol38/mongkhol38.html

พหูสูต

พหูสูต หมายถึง “ความเป็นผู้ฉลาดรู้” คือผู้ที่รู้จักเลือกในสิ่งที่ควรรู้ เป็นผู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมามาก ได้ยินได้ฟังมามาก และเป็นคนช่างสังเกต ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เป็นต้นทางแห่งปัญญา ทำให้เกิดความรู้สำหรับบริหารงานชีวิตและเป็นกุญแจไขไปสู่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข และทุกสิ่งที่ เราปรารถนา

ความแตกต่างระหว่างบัณฑิตและพหูสูต
บัณฑิต คือ ผู้มีคุณธรรมประจำใจ มีความประพฤติดีงาม ไม่ว่าจะมีความรู้มากหรือน้อยก็ตาม บัณฑิตจะใช้ความรู้นั้น ๆ สร้างประโยชน์แก่ตนเอง และผู้อื่นอย่างเต็มที่ เป็นผู้ที่สามารถเอาตัวรอดได้แน่นอน ไม่ตกไปสู่อบายภูมิเป็นอันขาด
พหูสูต คือ ผู้มีความรู้มาก แต่คุณธรรมความประพฤติยังไม่แน่ว่าจะดียังไม่แน่ว่าจะดี ยังไม่แน่ว่าจะเอาตัวรอดได้ ถ้าใช้ความรู้ที่มีอยู่ไปทำชั่ว เช่น เอาความรู้เคมีไปผลิตเฮโรอีน ก็อาจตกนรกได้

ลักษณะของพหูสูต คือ
๑. รู้ลึก หมายถึง รู้เรื่องราวไปหาเหตุในอดีต ลึกซึ้งถึงความเป็นมา เช่น แพทย์เมื่อเห็นอาการก็สามารถรู้ว่าเป็นโรคอะไรรู้ไปถึว่าที่เป็นโรคนี้เพราะเหตุใด หรือช่างเมื่องเห็นอาการเครื่องยนต์ที่เสียก็สามารถบอกได้ทันทีว่าเครื่องนั้นเสียที่ไหน เป็นเพราะอะไร เป็นต้น
๒. รู้รอบ หมายถึง ช่างสังเกต รู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว สภาพภูมิประเทศดินฟ้าอากาศ ผู้คนในชุมชน ความเป็นไปของเหตุการณ์ต่าง ๆ รอบตัว สภาพภูมิประเทศ ดินฟ้าอากาศ ผู้คนในชุมชน ความเป็นไปของเหตุการณ์ต่าง ๆ รอบตัว สิ่งที่ควรรู้ต้องรู้
๓. รู้กว้าง หมายถึง สิ่งรอบตัว แต่ละอย่างที่รู้ก็รู้อย่างละเอียดรู้ถึงความเกี่ยวพันของสิ่งนั้นกบสิ่งอื่น ๆ ด้วย คล้ายรู้รอบแต่เก็บรายละเอียดมากขึ้น
๔. รู้ไกล หมายถึง มองการณ์ไกล รู้ถึงผลที่จะตามมาในอนาคต เช่น เห็นสภาพดินฟ้าอากาศก็รู้ทันทีว่าปีนี้พืชผลชนิดใดจะขาดแคลน เห็นพฤติการณ์ ของผู้ร่วมงานไม่น่าไว้วางใจก็รู้ทันทีว่า เขากำลังจะคิดไม่ซื่อ เห็นตนเองเริ่มย่อหย่อนต่อการปฏิบัติธรรมก็รู้ทันทีว่าถ้าทิ้งไว้เช่นนี้ต่อไปตนก็จะเสื่อมจากกุศลธรรม ฯลฯ
ผู้ที่ประกอบด้วยความรู้ ๔ ประการนี้ ทั้งทางโลกและทางธรรมจึงจะเป็นพหูสูตที่แท้จริง

คุณสมบัติของพหูสูต หรือนักเรียน นักศึกษาที่ดี
๑.พหุสฺสุตา ความตั้งใจฟัง คือมีนิสัยชอบฟัง ชอบอ่าน ชอบค้นคว้า ยึดหลัก “เรียนจากครู ดูจากตำรับ สดับปาฐะ”
๒.ธตา ความตั้งใจจำ คือมีความจำดี รู้จักจับสาระสำคัญ จับหลักให้ได้ แล้วจำได้แม่นยำ คนที่ความจำไม่ดี เพราะภพในอดีตชอบพูดปด ดื่มสุรามาก ฯลฯ ดังนั้น ถ้าในชาตินี้เลิกดื่มสุรา เลิกพูดปดและพยายามบ่อย ๆ หมั่นจดหมั่นเขียนบ่อย ๆ ไม่ช้าก็จะเป็นผู้มีความจำดี
๓.วจสา ปริจิตา ความตั้งใจท่อง คือต้องฝึกท่องให้คล่องปากท่องจนขึ้นใจ จำได้คล่องแคล่วจัดเจน ไม่ต้องพลิกตำรา โดยเฉพาะพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นความจริงแท้แน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลง ควรท่องไว้ให้ขึ้นใจทุกข้อกระทงความให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ส่วนวิชาการทางโลกยังมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ เพราะยังไม่มีใครรู้จริง จึงควรท่องเฉพาะที่สำคัญ และหมั่นคิดหาเหตุผลด้วย
๔.มนสานุเปกขา ความตั้งใจขบคิด คือใส่ใจนึกคิด ตรึกตรองสาวเหตุสาวผลให้เข้าใจตลอด พิจารณาให้เจนจบ นึกถึงครั้งใดก็เข้าใจปรุโปร่งหมด
๕.ทิฏฐิยา สุปฏิวิทฺธา ความแทงตลอดด้วยปัญญา คือเข้าใจแจ่มแจ้งทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ความรู้กับใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อย่างไรก็ตามตราบใดที่ยังไม่ได้ฝึกสมาธิอย่างจริงจังคุณสมบัติข้อนี้ จะเกิดไม่เต็มที่

ลักษณะผู้ที่เป็นพหูสูตไม่ได้
๑.คนราคจริต คือ คนขี้โอ่ บ้ายอ เจ้าแง่แสนงอน รักสวยรักงาม พิถีพิถันจนเกินเหตุ มัวแต่งอน มัวแต่แต่งตัวจนไม่มีเวลาท่องบ่น ค้นคว้าหาความรู้ พวกนี้แก้โดยให้หมั่นนึกถึงความตาย พิจารณาซากศพอสุภะเนือง ๆ
๒.คนโทสจริต คือ คนขี้โมโห ฉุนเฉียว โกรธง่าย ผูกพยาบาทมากมัวแต่คิดโกรธแค้นจนไม่มีเวลาไตร่ตอง พวกนี้แต้โดยให้หมั่นรักษาศีลและแผ่เมตตาเป็นประจำ
๓.คนโมหจริต คือ คนสะเพร่า ขี้ลืม มักง่าย ทำอะไรไม่พยายามเอาดีสักแต่ให้เสร็จ สติไม่มั่นคง ใจกระด้างในการกุศล สงสัยในพระรัตนตรัยว่ามีคุณจริงหรือไม่ พวกนี้แก้โดยให้หมั่นฝึกสมาธิอย่างสม่ำเสมอ
๔.คนขี้ขลาด คือ พวกขาดความเชื้อมั่นในตนเอง ไม่กล้าลงมือทำอะไร กลัวถูกติ คอยแต่จะเป็นผู้ตาม ไม่มีความคิดริเริ่ม พวกนี้แก้โดยให้คบกับคนมาตรฐาน คือ คบบัณฑิต จะอ่าน จะทำอะไรก็ให้จับให้ทำแต่สิ่งที่เป็นมาตรฐานไม่สักแต่ว่าทำ
๕.คนหนักในอามิส คือ พวกบ้าสมบัติ ตีค่าทรัพย์ว่ามากกว่าความรู้ทำให้ไม่ขวนขวายในการแสวงหาปัญญาเท่าที่ควร
๖.คนจับจด คือ พวกทำอะไรเหยาะแหยะไม่เอาจริง
๗.นักเลงสุรา คือพวกขี้เมา ขาดสติ หมดหนทางที่จะเรียนรู้
๘.คนที่มีนิสัยเหมือนเด็ก คือ พวกชอบเอิกเกริกสนุกเฮฮาจนเกินเหตุ ไม่มีความรับผิดชอบ

วิธีฝึกตนเองให้เป็นพหูสูต
๑. ฉลาดเลือกเรียนแต่สิ่งที่ควร
๒. ตั้งใจเรียนวิชาที่ตนเลือกอย่างเต็มความสามารถ
๓. มีความกระตือรือร้นที่จะศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ
๔. เมื่อเรียนแล้วก็จำไว้เป็นอย่างดี พร้อมจะนำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้ทันที

ข้อเตือนใจ
ถ้ามีความรู้ทางโลกอย่างเดียว ไม่ว่าตนเองจะเป็นคนฉลาดเพียงใดก็มีโอกาสพลาดพลั้งได้ เช่น มีความรู้เรื่องปรมาณู อาจนำไปใช้ในทางสันติเป็นแหล่งพลังงาน หรือนำไปสร้างระเบิดทำลายล้างชีวิตมนุษย์ก็ได้ เราจึงต้องศึกษาความรู้ทางธรรมไว้คอยกำกับความรู้ทางโลกด้วย ควารู้ทางธรรมะจะเป็นเสมือนดวงประทีปส่องให้เห็นว่า สิ่งที่กระทำนั้นถูกหรือผิด ควรหรือไม่ควร
ผู้ที่คิดแต่จะตักตวงความรู้ทางโลก แม้จะฉลาดร่ำรวยมีอำนวจสักปานใดก็ไม่น่ารัก ไม่น่าเคารพ ไม่น่ายำเกรง ไม่น่านับถือ ยังเป็นบุคคล ประเภทเอาตัวไม่รอด
โปรดจำไว้ว่า “ความรู้ที่เกิดแก่คนพาล ย่อมนำความฉิบหายมาให้ เพราะเขาจะนำความรู้ไปใช้ในทางที่ผิด ๆ” เราทุกคนจึงควรจะแสวงหาโอกาสศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรมและรู้ให้ลึกซึ้งเกินกว่า การงานที่ตนตับผิดชอบ ความรู้ที่เกินมานี้ จะเป็นเสมือนดวงประทีป ส่องให้เห็นทางเบื้องหน้าที่จะนำไปสู่ความสำเร็จได้โดยง่าย

อานิสงส์การเป็นพหูสูต
๑.ทำให้เป็นที่พึ่งของตนเองได้
๒.ทำให้ได้ความเป็นผู้นำ
๓.ทำให้แกล้วกล้าองอาจในทุกที่ทุกสถาน
๔.ทำให้บริบูรณ์ด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ สุข
๕.ทำให้ได้รับคำชมเชย ได้รับความยกย่องเกรงใจ
๖.ไม่มีใครแย่งชิงได้ เป็นสหชาติปัญญาติดตัวข้ามภพข้ามชาติไป
๗.เป็นพื้นฐานของศิลปะ และความสามารถอื่น ๆ ต่อไป
๘.ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้โดยง่าย

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อิทธิบาท 4


คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ

๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น

ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน

ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เรา ควรจะได้ ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ

วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง

จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก ของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่

วิมังสา หมายถึงความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่


โลกธรรม 8


ความหมายของโลกธรรม 8
โลกธรรม 8 หมายถึง เรื่องของ โลกมีอยู่ประจำกับชีวิต สังคมและโลกของมนุษย์เป็นความจริงที่ทุกคนต้องประสบ
ด้วยกันทั้งนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม ข้อแตกต่างคือ ใครประสบมาก ประสบน้อย
ช้าหรือเร็ว โลกธรรมแบ่งออกเป็น 8 ชนิด จำแนกออกเป็น 2 ฝ่ายควบคู่กันและมีความหมายตรงข้ามกัน คือ

1. โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์พอใจมี 4 เรื่อง คือ
- ได้ลาภ หมายความว่า ได้ผลประโยชน์ ได้ทรัพย์สินเงินทอง ได้บ้านเรือนหรือที่สวน ไร่นา
- ได้ยศ หมายความว่า ได้รับแต่งตั้งให้มีฐานันดรสูงขึ้น ได้ตำแหน่ง ได้อำนาจเป็นใหญ่เป็นโต
- ได้รับสรรเสริญ คือ ได้ยิน ได้ฟัง คำสรรเสริญคำชมเชย คำยกยอ
- ได้สุข คือ ได้ความสบายกาย สบายใจ ได้ความเบิกบาน ร่าเริง ได้ความบันเทิงใจ

2. โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์ไม่พอใจมี 4 เรื่อง คือ
- เสียลาภ หมายความว่า ลาภที่ได้มาแล้วเสียไป
- เสื่อมยศ หมายถึง ถูกลดความเป็นใหญ่ ถูกถอดออกจากตำแหน่ง ถูกถอดอำนาจ
- ถูกนินทา หมายถึง ถูกตำหนิติเตียนว่าไม่ดี มีใครพูดถึง ความไม่ดีของเราในที่ลับหลังเรียกว่าถูกนินทา
- ตกทุกข์ คือ ได้รับความทุกข์ทรมานกายทรมานใจ



สังคหวัตถุ 4


สังคหวัตถุ 4 หมายถึง หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่
1. ทาน คือ การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้ไม่เป็นคนละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว เราควรคำนึงอยู่เสมอว่า ทรัพย์สิ่งของที่เราหามาได้ มิใช่สิ่งจีรังยั่งยืน เมื่อเราสิ้นชีวิตไปแล้วก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้

2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะสำหรับกาลเทศะ พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับการพูดเป็นอย่างยิ่ง เพราะการพูดเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้น วิธีการที่จะพูดให้เป็นปิยวาจานั้น จะต้องพูดโดยยึดถือหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้

เว้นจากการพูดเท็จ
เว้นจากการพูดส่อเสียด
เว้นจากการพูดคำหยาบ
เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
3. อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

4. สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้เราเป็นคนมีจิตใจหนักแน่นไม่โลเล รวมทั้งยังเป็นการสร้างความนิยม และไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย


มรรค 8 ( อัฏฐังคิกมรรค )

มรรค = อริยมรรค = มัชฌิมาปฏิปทา = มรรคแปด = ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ = ทางสายกลาง)
..........แนวทางดำเนินอันประเสริฐของชีวิตหรือกาย วาจา ใจ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์
.....เรียกว่า อริยมรรค แปลว่าทางอันประเสริฐ เป็นข้อปฏิบัติที่มีหลักไม่อ่อนแอ จนถึงกับ
.....ตกอยู่ใต้อำนาจ ความอยากแห่งใจ แต่ก็ไม่แข็งตึงจนถึงกับเป็นการทรมานกายให้เหือด
.....แห้งจากความสุขทางกาย เพราะฉะนั้นจึงได้เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา คือทางดำเนินสาย
.....กลาง ไม่หย่อนไม่ตึง แต่พอเหมาะเช่นสายดนตรีที่เทียบเสียงได้ที่แล้ว


..........คำว่ามรรค แปลว่าทาง ในที่นี้หมายถึงทางเดินของใจ เป็นการเดินจากความทุกข์
.....ไปสู่ความเป็นอิสระหลุดพ้นจากทุกข์ซึ่งมนุษย์หลงยึดถือและประกอบขึ้นใส่ตนด้วย
.....อำนาจของอวิชชา ....มรรคมีองค์แปด คือต้องพร้อมเป็นอันเดียวกันทั้งแปดอย่างดุจเชือก
.....ฟั่นแปดเกลียว องค์แปดคือ :-
..........1. สัมมาทิฏฐิ ิคือความเข้าใจถูกต้อง
..........2. สัมมาสังกัปปะ คือความใฝ่ใจถูกต้อง
..........3. สัมมาวาจา คือการพูดจาถูกต้อง
..........4. สัมมากัมมันตะ คือการกระทำถูกต้อง
..........5. สัมมาอาชีวะ คือการดำรงชีพถูกต้อง
..........6. สัมมาวายามะ คือความพากเพียรถูกต้อง
..........7. สัมมาสติ คือการระลึกประจำใจถูกต้อง
..........8. สัมมาสมาธิ คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง
.....การปฏิบัติธรรมทุกขั้นตอน รวมลงในมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดนี้ เมื่อย่นรวมกัน
.....แล้วเหลือเพียง 3 คือ ศีล - สมาธิ - ปัญญา สรุปสั้น ๆ ก็คือ
...............การปฏิบัติธรรม(ศีล-สมาธิ-ปัญญา)ก็คือการเดินตามมรรค
....

.สัมมาทิฏฐิ(ปัญญา) (หัวข้อ)
.....คือความเข้าใจถูกต้อง ย่อมต้องการใช้ในกิจการทั่วไปทุกประเภททั้งทางโลกและ
.....ทางธรรม แต่สำหรับฝ่ายธรรมชั้นสูงอันเกี่ยวกับการเห็นทุกข์หรืออาสวะซึ่งจัดเป็น
.....การเห็นอริยสัจจ์นั้นย่อมต้องการฝึกฝนอย่างจริงจังเป็นพิเศษ ความเข้าใจถูกต้อง
.....คือต้องเข้าใจอย่างทั่วถึงว่าทุกข์นั้นเป็นอย่างไร อย่างหยาบๆ ที่ปรากฎชัดๆ เป็นอย่างไร
.... อย่างละเอียดที่แอบแฝงเป็นอย่างไร เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างไร ความดับสนิท
.....ของทุกข์มีภาวะอย่างไร มีลำดับอย่างไร ทางให้ถึงความดับทุกข์คืออะไร เดินให้ถึงได้
.....อย่างไร สัมมาทิฏฐิมีทั้งที่เป็นโลกิยะคือของบุคคลที่ต้องขวนขวายปฏิบัติก้าวหน้าอยู่
.....และสัมมาทิฎฐิที่เป็นโลกกุตตระ คือของพระอริยบุคคลต้นๆ ส่วนของพระอรหันต์นั้น
.....เรียกเป็นวิชชาไปและไม่เรียกว่าองค์แห่งมรรค เพราะท่านถึงที่สุดแล้ว
สัมมาสังกัปปะ(ปัญญา) (หัวข้อ)
.....คือความใฝ่ใจถูกต้อง คือคิดหาทางออกไปจากทุกข์ตามกฎแห่งเหตุผล ที่เห็นขอบมาแล้ว
.....ข้อสัมมาทิฏฐินั่นเอง เริ่มตั้งแต่การใฝ่ใจที่น้อมไปในการออกบวช การไม่เพ่งร้าย การ
.....ไม่ทำทุกข์ให้แก่ผู้อื่นแม้เพราะเผลอ รวมทั้งความใฝ่ใจถูกต้องทุกๆอย่างที่เป็นไปเพื่อ
.....ความหลุดพ้นจากสิ่งที่มนุษย์ไม่ประสงค์
.สัมมาวาจา (ศีล) (หัวข้อ)
.....คือการพูดจาถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
.สัมมากัมมันตะ (ศีล) (หัวข้อ)
.....คือการกระทำถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
.สัมมาอาชีวะ (ศีล) (หัวข้อ)
.....คือการดำรงชีพถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
.สัมมาวายามะ (สมาธิ) (หัวข้อ)
.....คือความพากเพียรถูกต้อง เป็นส่วนของใจที่บากบั่นในอันที่จะก้าวหน้า ไม่ถอยหลังจากทาง
.....ดำเนินตามมรรค ถึงกับมีการอธิษฐานอย่างแรงกล้า
.สัมมาสติ (สมาธิ) (หัวข้อ)
.....คือการระลึกประจำใจถูกต้อง ระลึกแต่ในสิ่งที่เกื้อหนุนแก่ปัญญาที่จะแทงตลอด
.....อวิชชาที่ครอบงำตนอยู่ โดยเฉพาะได้แก่กายนี้ และธรรมอันเนื่องเกี่ยวกับกายนี้ เมื่อ
.....พบความจริงของกายนี้ อวิชชาหรือหัวหน้าแห่งมูลทุกข์ก็สิ้นไป
.สัมมาสมาธิ (สมาธิ) (หัวข้อ)
.....คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง ได้แก่สมาธิ เป็นของจำเป็นในกิจการทุกอย่าง สำหรับในที่นี้เป็น
.....อาการของใจที่รวมกำลังเป็นจุดเดียว กล้าแข็งพอทีจะให้เกิดปัญญา
.....ทำการแทงตลอดอวิชชาได้ และยังเป็นการพักผ่อนของใจ ซึ่งเป็นเหมือนการลับให้ อ
.....แหลมคมอยู่เสมอด้วย ฯลฯ
....cอองค์มรรคบางองค์ เป็นส่วนหยาบและสะสมขึ้นในตัวเราได้โดยง่ายคือ สัมมาวาจา
.....สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สามองค์นี้ถูกอบรมให้สำเร็จเป็นวิรัติเจตสิกจำพวกกุศล
.....เจตสิกเป็นเชื้อนอนนิ่งอยู่ในสันดาน เตรียมพร้อมที่จะมาผสมจิตคราวเดียวกันกับ
.....มรรคองค์อื่นๆ เมื่อได้โอกาสอันเหมาะ แม้องค์มรรคที่ยากๆ เช่นสัมมาทิฏฐิ-สติ-สมาธิ
..... ก็เหมือนกัน ได้ฝึกอบรมมาเท่าใดก็เข้าไปนอนเนื่องติดอยู่ในสันดานเป็นกุศลเจตสิก
.....อยู่อย่างเดียวกัน รอคอยกันจนกว่าจะครบทุกองค์และมีสัดส่วนพอดีกัน ก็ประชุมกัน
.....เป็นอริยมรรคขึ้น ตัดกิเลสหรือสัญโญชน์ให้หมดไปได้คราวหนึ่งตามกำลังหรือชั้นของ
.....ตน อาการสะสมกำลังแห่งองค์มรรคนี้ตรัสเรียกว่า "การอบรมทำให้มาก"
.....สัมมาทิฏฐิเป็นตัวนำ เกิดขึ้นอ่อนๆก่อน เกิดขึ้นเท่าใดก็จูงองค์อื่นๆ ให้เกิดขึ้นตามส่วน
.....องค์ที่เกิดขึ้นนั้นกลับช่วยสัมมาทิฏฐิให้คมกล้าขึ้นไปอีก สัมมาทิฏฐินั้นก็่จูงองค์นั้นๆให้
.....กล้าขึ้นอีก และส่งเสริมชักจูงกันไปอีกทำนองนี้ จนกว่าจะถึงขีดที่เพียงพอและสามัคคี
.....พร้อมกันได้ครบองค์ การอบรมทำให้มากอยู่เสมอนี้เองคือระยะแห่งการปฏิบัติธรรม
.....ยิ่งมากก็ยิ่งเร็ว ยิ่งอธิษฐานใจกล้าก็ยิ่งแรง ยิ่งที่วิเวกก็ยิ่งสุขุมลึกซึ้ง ยิ่งชำนาญก็ยิ่งคมกล้า

การนำอกุศลกรรม 10 มาประยุกต์ใช้ในอาชีพ

1. ทำร้ายสิ่งมีชีวิต ฆ่าสัตว์
-

2. ขโมย ลักทรัพย์ ฉ้อโกง
-

3. ประพฤติผิดในกาม
-

4. โกหก หลอกลวง
ให้ข้อมูลที่เป็นจริงแก่ผู่เล่น

5. พูดส่อเสียด ดูถูก
-
6. พูดหยาบ
ไม่พูดหยาบคายหรือด่า หรือทะเลาะกับผู้เล่นเกมส์

7. พูดเพ้อเจ้อ นินทา
ไม่พูดโอ้อวด ว่าตัวเองเป็น Gm จะทำอะไรในเกมก็ได้
8. เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
-
9. คิดร้ายผู้อื่น ผูกพยาบาท
ไม่ลงโทษผู้ที่เราไม่ชอบโดยไม่มีเหตุผล
10. เห็นผิดจากความจริง เห็นกงจักรเป็นดอกบัว
-

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อกุศลกรรม 10 (สิ่งที่ไม่ควรประพฤติ 10 ประการ)

อกุศลกรรมสิบ คือ ทางที่ไม่ควรดำเนิน ๑๐ ประการ เพราะให้ผลไปในทางเสื่อม เมื่อผู้ใดได้กระทำลงไปจะเป็นเหตุให้ชีวิตผู้นั้นต้องได้รับผลดังต่อไปนี้
๑. เข่นฆ่าชีวิต คนสัตว์ไม่ละเว้น
ผลที่จะได้รับจากการกระทำเหตุเช่นนี้ มากน้อยแตกต่างกันขึ้น อยู่กับความรุนแรงของการกระทำเช่น ผู้ที่ฆ่าสัตว์ใหญ่จำพวก วัว ควาย หมู จะบาปและรับผลรุนแรงกว่าการฆ่า มด ปลวก ยุง ฯ ทั้งนี้เพราะ กรรมวิธีและระยะเวลาของการกระทำบาปนั้นมีมากกว่า ทำให้จิตเก็บ อารมณ์นั้นได้มากกว่า ผลต่าง ๆ ที่จะได้รับจากการฆ่าสัตว์นี้มีมากมาย แตกต่างกัน ซึ่งจะเป็นไปตามลักษณะและอาการของสัตว์ที่เราได้ทำร้าย หรือทรมานเพื่อให้ตาย เพราะการที่เราได้กระทำปาณาติบาตออกไปนั้น จะทำให้เราต้องได้รับผลหรือโทษอย่างเบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้ว คือ
๑. ร่างกายทุพพลภาพ
กล่าวคือ เกิดมาพิการแต่กำเนิด หรือได้รับอุบัติเหตุแล้วเสียอวัยวะกลายเป็น คนพิการ
๒. รูปไม่งาม
เช่น ขี้ริ้วขี้เหร่ รูปร่างหน้าตาอัปลักษณ์ ไม่มีเสน่ห์ เป็นเหมือนอาการของสัตว์ ที่ถูกทำร้ายหรือกำลังบาดเจ็บ
๓. กำลังกายอ่อนแอ
กล่าวคือ มีอาการอยู่ในสภาพเดียวกับสัตว์ที่ได้ทำร้ายและใกล้ตายนั่นเอง
๔. กำลังปัญญาไม่ว่องไว
เพราะสัตว์ที่กำลังจะตาย ย่อมมีแต่ความมืดบอด คิดอะไรก็ไม่ออก
๕. เป็นคนขลาดหวาดกลัวง่าย
เพราะสัตว์ทุกชนิดย่อมรักชีวิต เมื่ออยู่ในภาวะที่กำลังถูกทำร้ายเพื่อให้ตาย ย่อมมีความขลาดหวาดกลัวอย่างรุนแรง
๖. กล้าฆ่าตนเอง หรือถูกฆ่า
เพราะเราได้ฆ่าชีวิตอื่นไว้ ชีวิตของเราก็อาจต้องถูกฆ่าในชาติต่อ ๆ ไป แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นสัตว์ตัวที่เราฆ่านั้นกลับมาฆ่าเรา เพียงแต่เป็นเหตุผลผลักดันให้เราถูกฆ่าโดยใครหรือสัตว์ใดก็ได้ และ การฆ่าสัตว์บ่อย ๆ จากสัตว์เล็ก ๆ จะทำให้มีอำนาจกล้าฆ่าสัตว์ที่ใหญ่ ขึ้น ในที่สุดความกล้านี้จะมีอำนาจทำให้สามารถกล้าฆ่าตนเองซึ่งเป็น ชีวิตที่เรารักที่สุดได้
๗. พินาศในบริวาร
กล่าวคือ ทำให้ชีวิตของเรานั้นไม่มีใครอยากอยู่ด้วย เช่นมีคนใช้ก็อยู่ ไม่ทนต้องเปลี่ยนแล้วเปลี่ยนอีก หรือเป็นหัวหน้างาน ก็มีลูกน้องที่ไม่ จริงใจ ไม่ซื่อตรง เป็นต้น
๘. โรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน
กรณีนี้แล้วแต่อาการที่ได้กระทำต่อสัตว์นั้น เช่น คนบางคนชอบฆ่าสัตว์ โดยการใช้ไฟหรือน้ำร้อนลวกพวกมด หนู ฯลฯ คนเหล่านี้มักจะได้รับผล จากการถูกไฟครอก หากไม่ตายก็ถึงขึ้นพิการ หรือเสียโฉมไปตลอดชีวิต
๙. อายุสั้น
โดยปกติคนเราจะมีอายุขัยประมาณ ๗๕ ถึง ๑๐๐ ปีทั้งนี้ถ้าผู้ใดตายก่อนอายุ ขัยแสดงว่าผู้นั้นได้เคยฆ่าสัตว์ แล้วแต่ความรุนแรงของกรรมที่กระทำมา การรับผลของกรรมในการกระทำเช่นนี้ หรือที่คนทั่ว ๆ ไปเรียกกันว่า "ชด ใช้หนี้กรรม" นั้นไม่มีวันหมดสิ้นถ้าตราบใดที่เรายังเวียนว่ายตายเกิดอยู่
๒. ลักขโมย ยักยอก ฉ้อโกง
หมายถึง การลักทรัพย์ รวมไปถึงการฉ้อโกง ยักยอก หยิบฉวย โดยที่เจ้าของไม่ได้อนุญาต
ผลของบาปนั้นจะหนักหรือเบาขึ้นอยู่กับว่าได้ทำครบองค์ประกอบ หรือไม่เช่น การถือวิสาสะหยิบของผู้อื่นมาใช้ด้วยความคิดว่าเป็นคนกัน เองนั้น เท่ากับเป็นการสะสมความเคยชินในทางที่ผิด เพราะเมื่อกระทำ บ่อย ๆ เข้าจะเกิดความชำนาญ กล้าที่จะหยิบของผู้อื่นมากขึ้น ในที่สุด ก็จะเป็นขโมยอย่างแท้จริงได้ในวันข้างหน้า ทั้งนี้ผู้ที่ได้กระทำการลักขโมย ออกไปนั้น จะทำให้ได้รับผลหรือโทษอย่างเบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้ว คือ
๑) ด้อยทรัพย์
๒) ยากจน
๓) อดอยาก
๔) ไม่ได้ในสิ่งที่ตนปรารถนา
๕) พินาศในกิจการค้าและการลงทุน
๖) พินาศเพราะภัยพิบัติ
๓. ละเมิด ล่วงเกิน ผิดประเวณี
โดยส่วนใหญ่การกระทำผิดในข้อนี้ คนส่วนมากมักจะนึกถึงการ ประพฤติผิดในกาม หรือการล่วงประเวณีอันเป็นการกระทำลามก ไม่ว่า ยินยอมหรือขัดขืน หากผิดจากทำนองคลองธรรมคือผิดลูกผิดเมียเขา อันเป็นความประพฤติที่สังคมไม่ยอมรับ ผู้ที่กระทำจึงต้องมีพฤติกรรม ที่ปิดบังและซ่อนเร้น ทั้งนี้ผู้ที่ได้กระทำผิดกาเมสุมิจฉาจารออกไปนั้น จะทำให้ได้รับผลหรือโทษอย่างเบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้วคือ
๑) มีผู้เกลียดชังมาก
๒) มีผู้คิดปองร้าย
๓) ขัดสนทรัพย์
๔) อดอยาก ยากจน
๕) เกิดเป็นผู้หญิง
๖) เกิดเป็นกะเทย
๗) เกิดในตระกูลต่ำ
๘) ได้รับความอับอายอยู่เสมอ
๙) ร่ายกายไม่สมประกอบ
๑๐) เป็นคนวิตกจริต
๑๑) พลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก
๔. พูดเท็จ พูดไม่ตรงความจริง
หลายคนคงตั้งข้อสงสัยว่าการพูดไม่ปดนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะบางครั้งดูเหมือนจำเป็นต้องทำ เพราะอยู่ในหน้าที่การทำงานซึ่ง หาทางเลี่ยงไม่ได้ เช่น เมื่อรับโทรศัพท์แล้วมีคนต้องการพูดกับเจ้านาย แต่เจ้านายให้บอกว่าไม่อยู่ เช่นนี้แล้วถือว่าเป็นอกุศลกรรมหรือไม่ ? ถ้าเรามาไตร่ตรองให้รอบคอบ อาจเป็นเพราะเรายังไม่เคยทราบ ว่าเมื่อได้กระทำออกไปแล้วผลที่เราจะต้องได้รับเป็นอย่างไร ถ้าเราได้ ทราบผลที่จะเกิดและกลัวต่อผลนั่น ๆ เราจะต้องหาทางหลีกเลี่ยง ลด ละ เลิก การกระทำนั้นได้ดีที่สุด เพราะการที่เราได้พูดปดออกไปนั้นจะทำให้ เราต้องได้รับผลหรือโทษอย่างเบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้วคือ
๑) พูดไม่ชัด
๒) ฟันไม่เรียบ
๓) มีกลิ่นปากเหม็นรุนแรง
๔) ไอตัวร้อนจัด มีกลิ่นตัวแรง
๕) ตาไม่อยู่ในระดับปกติ
๖) พูดติดอ่าง พูดไม่สะดวก
๗) บุคลิกไม่สง่าผ่าเผย
๘)จิตจรวนเรคล้ายคนวิกลจริต
๕. พูดส่อเสียด พูดให้แตกแยก
หมายถึง พูดส่อเสียด พูดให้แตกแยก พูดพาดพิง พูดให้ร้ายฯ เมื่อเราได้กระทำออกไปนั้นจะทำให้เราต้องได้รับผลหรือโทษอย่างเบา ที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้วคือ
๑) ชอบตำหนิตนเอง
๒) มักถูกกล่าวหาโดยไม่เป็นจริง
๓) ถูกบัณฑิตติเตียน
๔) แตกกับมิตรสหาย
๖. พูดคำหยาบ ด่า สาปแช่ง
หมายถึง พูดคำหยาบ ด่าด้วยคำหยาบช้า ด่าพ่อล่อแม่ ด่า ประจาน สาปแช่งฯ เมื่อเราได้กระทำออกไปนั้นจะทำให้เราต้องได้รับ ผลหรือโทษอย่างเบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้วคือ
๑) มีกายและวาจาหยาบกระด้าง
๒) พินาศในทรัพย์
๓) ได้รับฟังแต่เรื่องไม่สบายใจ
๔) ตายด้วยอาการหลงใหล
๗. พูดเพ้อเจ้อ พูดไร้สาระ
หมายถึง พูดไม่มีเนื้อหา พูดเหลวไหล พูดเรื่อยเปื่อย พูดไม่ เป็นประโยชน์ฯ เมื่อเราได้กระทำออกไปนั้นจะทำให้เราต้องได้รับผลหรือ โทษอย่างเบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้ว คือ
๑) เป็นอธรรมวาทบุคคล
กล่าวคือ เป็นคนที่พูดมากและเรื่องราวที่พูด นั้นไร้สาระหาประโยชน์ไม่ได้ บางคนไม่ว่า ใครจะพูดอะไรก็พูดกับเขาได้ทุกเรื่อง มีการเพลิดเพลินในการพูด โดยไม่สนใจว่าคนอื่น เขาจะรู้สึกอย่างไร >>
๒) ไม่มีผู้เลื่อมใสในคำพูด
๓) เป็นคนไร้อำนาจ
๔) วิกลจริต
ทั้ง ๔ ประการที่กล่าวมาข้างต้นจัดเป็นวาจาทุจริต คือการสร้าง กรรมทางปากเป็นอกุศลกรรมหรือวจีกรรม เมื่อได้กระทำออกไปย่อมมี ผลตามมามากมาย ดังนั้น ในศีลห้าข้อที่ ๔ มุสาวาท ซึ่งหมายถึงเว้นขาด จากการพูดจาโป้ปดมดเท็จ เพราะฉะนั้นจะรักษาศีลข้อนี้ให้บริสุทธิ์นั้น ทั้งนี้ต้องรวมถึงการไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ เข้าไป ด้วยนั่นเอง
๘. เพ่งเล็งอยากได้เป็นเจ้าของ
หมายถึง ปรารถนาที่จะได้มาครอบครองเป็นเจ้าของ ไม่ว่าสิ่งนั้น เป็นบุคคลหรือทรัพย์สินสิ่งของ ความคิดเช่นนี้เป็นอกุศลกรรมทางใจ หรือมโนกรรม ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้เกิดการกระทำทุจริตในข้ออทินนา ทาน (ลักขโมย) มุสาวาท (พูดเท็จ) หรือกาเมสุมิจฉาจาร (ผิดประเวณี) ตามมา เมื่อมีความอยากได้อาจทำให้ต้องสร้างเรื่องโกหกขึ้นมาเพื่อให้ได้ สิ่งของนั้น หรือมีการหยิบฉวยเมื่อเจ้าของเผลอ หรือฉุดพรากลูกเมีย เขา เป็นต้น เมื่อเราได้กระทำออกไปนั้นจะทำให้เราต้องได้รับผลหรือ โทษอย่างเบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้ว คือ
๑) เสื่อมในทรัพย์และคุณงามความดี
๒) เกิดในตระกูลต่ำ
๓) ขัดสนในลาภสักการะ
๔) ได้รับคำติเตียนอยู่เสมอ
๙. ความคิดชั่วร้าย ผูกพยาบาท
หมายถึง ความคิดที่มุ่งร้ายต่อผู้อื่น มีความปรารถนาที่จะทำร้าย ผู้อื่น หรือทำลายประโยชน์และความสุขของผู้อื่นให้เสียไป เช่น เมื่อมี ความโกรธแค้นก็คิดพยาบาทหรืออาฆาต เป็นแรงผลักดันให้เกิดวาจา ทุจริตคือ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และอาจผลักดันให้เกิดความทุจริต ทางกายตามมาคือ กาเมสุมิจฉาจาร หรือปาณาติบาต (โดยการหาวิธี การทำร้านให้ถึงแก่ชีวิต) เมื่อเราได้กระทำออกไปนั้นจะทำให้เราต้องได้รับ ผลหรือโทษอย่างเบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้ว คือ
๑) มีรูปกายทราม
๒) มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนอยู่เสมอ
๓) อายุสั้น
๔) ตายด้วยการถูกประหารชีวิต
๑๐. มิจฉาความคิด เห็นผิดเป็นชอบ
หมายถึง ความเห็นผิดจากความเป็นจริง คือ
๑) มีความเห็นว่าตายแล้วสูญ ทำอะไรก็ตาม ผลที่พึงได้รับย่อม ไม่มีคือ ทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วไม่ได้ชั่ว คุณบิดามารดาไม่มี ผีสางเทวดาไม่มี
๒) มีความเห็นว่าผู้ที่กำลังได้รับความลำบากหรือความสุขสบาย ก็ตาม ล้วนเป็นไปเองทั้งสิ้น เป็นการปฏิเสธต้นเหตุผลกรรมโดยสิ้นเชิง
๓) มีความเห็นว่าการกระทำต่าง ๆ นั้น ไม่มีผลของบาปบุญคุณ โทษแต่ประการใด

เมื่อเราได้กระทำออกไปนั้นจะทำให้เราต้องได้รับผลหรือโทษอย่าง เบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้ว คือ
1. ห่างไกลต่อรัศมีพระธรรม
2. เกิดเป็นคนป่า
3. เป็นคนบ้าปัญญาทราม
4. มีฐานะทางจิตใจต่ำไม่ทัดเทียมผู้อื่น

กุศลกรรมบถ 10 ประการ

หลักกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ ดังนี้

๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์ คือไม่ฆ่าสัตว์ นับตั้งแต่ฆ่าคนทั่วไป ฆ่าสัตว์ ที่มีคุณ และฆ่าสัตว์อื่นๆ

เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้ทุกคนรู้จักแก้ปัญหาโดยสันติวิธี ไม่ใช่โดยวิธีฆ่าอีกฝ่ายหนึ่งเสีย เพราะการฆ่านั้น ผู้ฆ่าย่อมเกิดความทารุณโหดร้ายขึ้นในใจ ทำให้ใจเศร้าหมอง และตนก็ต้องรับผลกรรมต่อไป และต้องคอยหวาดระแวงว่า ญาติพี่น้องเขาจะมาทำร้ายตอบ เป็นการแก้ปัญหา ซึ่งจะสร้างปัญหาอื่นๆ ต่อมาโดยไม่จบสิ้น

๒. เว้นจากการลักทรัพย์ คือไม่แสวงหาทรัพย์มาโดยทางทุจริต เช่น

ลัก = ขโมยเอาลับหลัง

ฉก = ชิงเอาซึ่งหน้า

กรรโชก = ขู่เอา

ปล้น = รวมหัวกันแย่งเอา

ตู่ = เถียงเอา

ฉ้อ = โกงเอา

หลอก = ทำให้เขาหลงเชื่อแล้วให้ทรัพย์

ลวง = เบี่ยงบ่ายลวงเขา

ปลอม = ทำของที่ไม่จริง

ตระบัด = ปฏิเสธ

เบียดบัง = ซุกซ่อนเอาบางส่วน

สับเปลี่ยน = แอบเปลี่ยนของ

ลักลอบ = แอบนำเข้าหรือออก

ยักยอก = เบียดบังเอาของในหน้าที่ตน

เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้ทุกคนทำมาหาเลี้ยงชีพโดยสุจริต ซึ่งจะทำให้ใช้ทรัพย์ได้เต็มอิ่ม ไม่ต้องหวาดระแวงว่าจะมีใครมาทวงคืน

๓. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม คือไม่กระทำผิดในทางเพศ ไม่ลุอำนาจแก่ความกำหนัด เช่น การเป็นชู้กับสามีภรรยาคนอื่น การข่มขืน การฉุดคร่าอนาจาร

เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้ทุกคนมีจิตใจสูง เคารพในสิทธิของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เป็นการรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม

๔. เว้นจากการพูดเท็จ คือต้องไม่เจตนาพูดให้ผู้ฟังเข้าใจผิดไปจากความเป็นจริง ซึ่งรวมถึงการทำเท็จให้คนอื่นหลงเชื่อรวม ๗ วิธีด้วยกัน คือ

พูดปด = โกหกซึ่งๆ หน้า

ทนสาบาน = อ้างสิ่งต่างๆ ทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อ

ทำเล่ห์กระเท่ห์ = ทำกลอุบายหรือเงื่อนงำอันอาจทำให้คนอื่นหลงเข้าใจผิด

มารยา = เช่น เจ็บน้อยทำเป็นเจ็บมาก

ทำเลศ = ทำทีให้ผู้อื่นตีความคลาดเคลื่อนเอาเอง

เสริมความ = เรื่องนิดเดียวทำให้เห็นเป็นเรื่องใหญ่

อำความ = เรื่องใหญ่ปิดบังไว้ให้เป็นเรื่องเล็กน้อย

การเว้นจากพูดเท็จต่างๆ เหล่านี้ หมายถึง

- ไม่ยอมพูดคำเท็จเพราะเหตุแห่งตน กลัวภัยจะมาถึงตนจึงโกหก

- ไม่ยอมพูดคำเท็จเพราะเหตุแห่งคนอื่น รักเขาอยากให้เขาได้ ประโยชน์จึงโกหก หรือเพราะเกลียดเขา อยากให้เขาเสียประโยชน์จึงโกหก

- ไม่ยอมพูดเท็จเพราะเห็นแก่อามิสสินจ้าง เช่น อยากได้ทรัพย์สินเงินทองสิ่งของ จึงโกหก

เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้ทุกคนมีความสัตย์จริง กล้าเผชิญหน้ากับความจริงเยี่ยงสุภาพชน ไม่หนีปัญหา หรือหาประโยชน์ใส่ตัวด้วยการพูดเท็จ

๕. เว้นจากการพูดส่อเสียด คือไม่เก็บความข้างนี้ไปบอกข้างโน้น เก็บความข้างโน้นมาบอกข้างนี้ ด้วยเจตนาจะยุแหย่ให้เขาแตกกัน ควรกล่าวแต่ถ้อยคำที่ทำให้เกิดความสมัครสมานสามัคคี

เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการไม่ให้คนเราหาความชอบด้วยการประจบสอพลอ ไม่เป็นบ่างช่างยุ ต้องการให้หมู่คณะสงบสุขสามัคคี

๖. เว้นจากการพูดคำหยาบ คือไม่พูดคำซึ่งทำให้คนฟังเกิดความระคายใจ และส่อว่าผู้พูดเองเป็นคนมีสกุลต่ำ ได้แก่

คำด่า = พูดเผ็ดร้อน แทงหัวใจ พูดกดให้ต่ำ

คำประชด = พูดกระแทกแดกดัน

คำกระทบ = พูดเปรียบเปรยให้เจ็บใจเมื่อได้คิด

คำแดกดัน = พูดกระแทกกระทั้น

คำสบถ = พูดแช่งชักหักกระดูก

คำหยาบโลน = พูดคำที่สังคมรังเกียจ

คำอาฆาต = พูดให้หวาดกลัวว่าจะถูกทำร้าย

เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้ทุกคนเป็นสุภาพชน รู้จักสำรวมวาจาของตน ไม่ก่อความระคายใจแก่ผู้อื่นด้วยคำพูด

๗. เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ คือไม่พูดเหลวไหล ไม่พูดพล่อยๆ สักแต่ ว่ามีปากอยากพูดก็พูดไปหาสาระมิได้ แต่พูดถ้อยคำที่มีสาระ มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง ถูกกาลเวลา มีประโยชน์

เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้ทุกคนมีความรับผิดชอบต่อถ้อยคำของตน

๘. ไม่โลภอยากได้ของเขา คือไม่เพ่งเล็งที่จะเอาทรัพย์ของคนอื่นในทางทุจริต

เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้คนเราเคารพในสิทธิข้าวของของผู้อื่น มีจิตใจสงบไม่ฟุ้งซ่านไหวกระเพื่อมไปเพราะความอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่น ทำให้มีใจผ่องแผ้ว มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ พร้อมที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม

๙. ไม่พยาบาทปองร้ายเขา คือไม่ผูกใจเจ็บ ไม่คิดอาฆาตล้างแค้น ไม่จองเวร มีใจเบิกบาน แจ่มใสไม่ขุ่นมัว ไม่เกลือกกลั้วด้วยโทสะจริต

เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้คนเรารู้จักให้อภัยทาน ไม่คิดทำลาย ทำให้จิตใจสงบผ่องแผ้ว เกิดความคิดสร้างสรรค์

๑๐. ไม่เห็นผิดจากคลองธรรม คือไม่คิดแย้งกับหลักธรรม เช่น มีความเห็นที่เป็น สัมมาทิฏฐิพื้นฐาน ๘ ประการ คือ

๑. เห็นว่าการให้ทานดีจริง ควรทำ

๒. เห็นว่าการบูชาบุคคลที่ควรบูชาดีจริง ควรทำ

๓. เห็นว่าการต้อนรับแขกมีผล ควรทำ

๔. เห็นว่าผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วมีจริง

๕. เห็นว่าโลกนี้โลกหน้ามีจริง

๖. เห็นว่าบิดามารดามีพระคุณต่อเราจริง

๗. เห็นว่าสัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมีจริง (นรกสวรรค์มีจริง)

๘. เห็นว่าสมณพราหมณ์ที่หมดกิเลสแล้วมีจริง

หมายเหตุ ข้อ ๕ อาจแยกเป็น โลกนี้มีจริง ๑- โลกหน้ามีจริง ๑

ข้อ ๖ อาจแยกเป็น บิดามีพระคุณจริง ๑ มารดามีพระคุณจริง ๑

ซึ่งถ้าแยกแบบนี้ก็จะรวมได้เป็น ๑๐- ข้อ แต่เนื้อหาเหมือนกัน

เจตนารมณ์ของกุศลกรรมบถข้อนี้ ต้องการให้คนเรามีพื้นใจดี มีมาตรฐานความคิดที่ถูกต้อง ยึดถือค่านิยมที่ถูกต้อง มีวินิจฉัยถูก มีหลักการ มีแนวความคิดที่ถูกต้อง ส่งผลให้ความคิดในเรื่องอื่น ถูกต้องตามไปด้วย

"เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้สักอย่าง ซึ่งจะเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดได้เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เพิ่มพูนไพบูลย์ยิ่งขึ้นเหมือนอย่างสัมมาทิฏฐินี้เลย" องฺ. เอก. ๒๐/๑๘๒/๔๐

คุณธรรมทั้ง ๑๐ ประการนี้ คนทุกคนจำเป็นต้องฝึกให้มีในตน โดยเฉพาะผู้นำ ผู้ที่จะบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม จะต้องฝึกให้มีในตนอย่างเต็มที่ จึงจะทำงานได้ผลดี

"ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม บุคคลใดหวังความสุข หวังความ

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

จริยธรรมในงานคอมฯ

บทบาทและหน้าที่ของนักคอมพิวเตอร์

ความหมายของนักคอมพิวเตอร์นักคอมพิวเตอร์ คือ ผู้มีความรู้ และเชี่ยวชาญในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และนำความรู้ที่ได้ศึกษาอบรมมาเป็นอย่างดีมาใช้ประโยชน์ในการดำเนินอาชีพ ตลอดจนพัฒนาความรู้ของตนเองให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ ๆ

บทบาทและหน้าที่ของนักคอมพิวเตอร ์ความหมายของ “บทบาท” คือ พฤติกรรมหรือการกระทำที่บุคคลแสดงออกตามตำแหน่งหน้าที่ที่ตนได้รับ การแสดงออกนั้นย่อมผูกพันกับความรับผิดชอบของผู้ดำรงตำแหน่งกับความคาดหวังของผู้อื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตำแหน่งนั้น บทบาทของนักคอมพิวเตอร์จึงหมายถึง พฤติกรรมหรือการกระทำที่นักคอมพิวเตอร์แสดงออกฐานะกลไกที่มีส่วนผลักดันความเจริญก้าวหน้าของสังคมด้านเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ พฤติกรรม เช่นนี้เป็นที่คาดหวังของสังคมว่านักคอมพิวเตอร์จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และเป็นผู้มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ในระดับที่ปัญญาชนพึงปฏิบัติ

ความรับผิดชอบของนักคอมพิวเตอร์ “ความรับผิดชอบ” หมายถึง ความสนใจตั้งใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเพียรพยายาม ละเอียดรอบคอบ เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย และยอมรับผลการกระทำของตน ทั้งในด้านที่ดีและผลเสีย ที่พยายามปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่ให้ดียิ่งขึ้นประเภทของความรับผิดชอบ สามารถสรุปได้เป็น 2 ประเภท คือ

1.ความรับผิดชอบต่อตนเอง หมายถึง การรู้จักหน้าที่ของตนเอง และปฏิบัติหน้าที่การงานของตนให้ลุล่วงไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทันเวลากำหนด และตรงต่อเวลา
2.ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม หมายถึง การรู้จักปฏิบัติหน้าที่ของตนเองโดยคำนึงถึงคนส่วนใหญ่หรือสังคมส่วนรวมอันได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้องในครอบครัว ชุมชน สังคมทั่วไป ประเทศชาติ โดยปฏิบัติอย่างถูกต้องเหมาะสม และเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

คุณสมบัติของนักคอมพิวเตอร ์นักคอมพิวเตอร์ที่ดีควรมีคุณสมบัติที่เอื้อประโยชน์ต่องานอาชีพ คุณสมบัติที่ของนักคอมพิวเตอร์ ควรมีลักษณะ ดังนี้
1. เป็นนักวางแผนที่ดี
2. เป็นนักออกแบบที่สร้างสรรค์
3. เป็นนักจิตวิทยา
4. เป็นผู้มีสติ
5. เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบ
6. เป็นผู้ใช้ศาสตร์ใช้ศิลป์ได้อย่างกลมกลืน
7. เป็นผู้มีวินัยในตนเอง
8. มีความขยัน อดทน
9. มีความกระตือรือร้น สนใจศึกษาค้นคว้าอยู่เสมอ
10. มีจรรยาต่อวิชาชีพ

ค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักคอมพิวเตอร์ค่านิยม หมายถึง ภาวะของจิตใจในการยึดถือปฏิบัติตามความชื่นชอบ หรือความสนใจ และถือเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจในเลือกกระทำสิ่งที่ยึดถือตามความพอใจนั้น ค่านิยมประสงค์ในการเป็นนักคอมพิวเตอร์ที่ดี มีดังนี้

1. มีความภูมิใจในอาชีพของตน
2. มีความภูมิใจในการทำงานที่ประโยชน์ต่อสังคม
3. มีความสนใจใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ
4. รักษาชื่อเสียงของหมู่คณะ และเพื่อนร่วมอาชีพ
5. มีความอดทน อดกลั้นไม่ย่อท้อในการปฏิบัติงาน

6. คำนึงถึงส่วนรวมอยู่เสมอ
7. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
8. มีความกล้าหาญที่จะเผชิญปัญหา และอุปสรรค
9. ยกย่อง และให้เกียรติเพื่อนร่วมงาน
10. ศึกษาปัญหาด้วยความสุขุมรอบคอบ


ความหมายของจริยธรรมในคอมพิวเตอร์

จริยธรรมมาจากคำว่า จริยาและคำว่าธรรมคือกริยาที่ควรประพฤติและธรรมคือหลักดังนั้นสรุปได้ว่า

จริยธรรม หมายถึงหลักที่ควรประพฤติปฏิบัติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเสียหาย กล่าวคือ ควรประพฤติ กระทำให้สิ่งที่ควรประพฤติ

และไม่ควรประพฤติในสิ่งที่ไม่ควรกระทำ เมื่อเรานำมาพิจารณาจริยธรรมกับเทคโนโลยีโดยเฉพาะกับคอมพิวเตอร์นั้นเราจะเห็นว่าเกี่ยว

ข้องกันอย่างแยกเสียงไม่ได้ ถ้าผู้คนเจริญด้านวัตถุแต่ในทางตรงกันข้ามกับเสื่อมลงมาด้านจริยธรรมแล้วนั้น

ความวุ่นวายในสังคมคอมพิวเตอร์ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
ตัวอย่างของการกระทำที่ยอมรับ กันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เช่น
การใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือให้เกิดความรำคาญ เช่น

การนำภาพหรือข้อมูลส่วนตัวของบุคคลไปลงบนอินเทอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาต
การใช้คอมพิวเตอร์โดยการขโมยข้อมูล การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่รับอนุญาต การละเมิดลิขสิทธิ์
จริยธรรมที่สำคัญและจำเป็นที่ควรจะปลูกฝังเพื่อให้บุคคลได้ประพฤติปฏิบัติแต่ในสิ่งที่ควรเมื่อใช้เทคโนโลยีโดยเฉพาะคอมพิวเตอร

ทั้งยังนำความสุขความเจริญมาสู่ประเทศชาติ สังคม ได้แก่

1. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ คือ การปฏิบัติกิจการงานของตนเองและงานที่ได้รับมอบหมายด้วยความมานะพยายาม

อุทิศกำลังกาย กำลังใจสุดความสามารถ ไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อยจนงานประสบความสำเร็จตรงตามเวลาบังเกิดผลดีแก่ตนเอง

และส่วนรวมไปถึงการรับผิดชอบเมืองานล้มเหลว โดยการพยายามแก้ปัญหาและอุปสรรคโดยไม่ท้อถอยจนประสบความสำเร็จ

ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่เกี่ยวของกับระบบคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งออกเป็นโดยไม่ท้อถอยจนประสบความสำเร็จความรับผิดชอบ

ต่อหน้าที่ที่เกี่ยวของกับระบบคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ความรับผิดชอบด้วยกันคือ

ความเป็นส่วนตัว คือ ความรับผิดชอบของผู้ที่เก็บข้อมูล มิให้ข้อมูลส่วนตัวของบุคคลที่มีอยู่ในฐานข้อมูลแพร่กระจายออกไปโดยไม่ได้รับ

ความยินยอมจกเจ้าของข้อมูล เพราะปัจจุบันในสหรัฐอเมริกาชื่อและที่อยู่ของบุคคล 1 คนสามารถขายได้ในราคา 1 เหรียญ

บริษัทชื้อข้อมูลไปถ้านำไปทำมิดีมิร้ายก็จะตกกับเจ้าของข้อมูลนั้น ๆ จากการวิจัยพบว่าบริษัทขายข้อมูลบางแห่งสามารถเก็บข้อมูลได้ถึง

80% ของจำนวนบ้านเรือนทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา ข้อมูลทางด้านการแพทย์ของบุคคลก็เป็นที่นิยมชื้อกันของบริษัทผลิตยา เพื่อที่จะนำไปผลิตยาได้ตรงตามความต้องการของผู้คนซึ่งอาจจะไม่ใช้สิ่งที่เลวร้ายนัก แต่จะคิดอย่างไรถ้าข้อมูลทางด้านการแพทย์

ของเราที่คิดว่าน่าจะเป็นความลับ ถูกเจ้านายที่ใช้ในการพิจารณาประกอบการเลื่อนขั้นเงินเดือนการเลื่อนตำแหน่งหน้าที่ การไล่ออก ข้อมูลทางด้านการเงินกำลังเป็นที่สนใจของบริษัทบัตรเครดิตและบริษัทให้กู้เงิน เพื่อนำไปใช้การประกอบการพิจารณา

ออกบัตรเครดิตหรือปล่อยเงินกู้

ความถูกต้อง คือ ความรับผิดชอบของผู้ที่เก็บข้อมูลโดยจะต้องมั่นว่าข้อมูลที่จะเก็บมามีความถูกต้องและแน่นอน

เพราะข้อมูลที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนอาจนำมาซึ่งความเสียหายแก่บุคคลผู้ผู้เป็นเจ้าของข้อมูลได้
-ความเป็นเจ้าของ คือ ความรับผิดชอบของผู้เก็บข้อมูลในการที่จะบ่งบอกว่าใครเป็นเจ้าของข้อมูลใดและซอฟต์แวร์ใดเป็นของใคร
-การเข้าถึง คือ คือความรับผิดชอบของผู้ที่เก็บข้อมูลและซอฟต์แวร์ว่าจะอนุญาตให้ผู้ใดเข้ามาใช้และใช้ในระดับไหน

2. ความมีระเบียบวินัยหมายถึง การเป็นผู้รู้และปฏิบัติตามแบบแผนที่ตนเอง ครอบครัวและสังคมกำหนดไว้ความมีระเบียบวินัย

ช่วยให้สังคมเป็นระเบียบเรียบร้อย บ้านเมืองมีความร่มเย็นเป็นสุขและเจริญรุ่งเรือง

3.ความชื่อสัตย์หมายถึงการปฏิบัติตนทางกายวาจา ใจ ที่ตรงไปตรงมาไม่แสดงความคดโกง ไม่หลอกลวง ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น

มีความจริงใจต่อกันเป็นที่ไว้วางใจของคนทั่วไปเราจะพบและได้ยินว่าบ่อยครั้งที่พนักงานบริษัทใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตัวเองใช้ทำงาน

ให้บริษัทมาใช้ส่วนตัวไม่ว่าจะเป็นการใช้เล่นอินเตอร์เน็ต การใช้ทำงานส่วนตัว นี่คือตัวอย่างหนึ่งของการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่นและ

คดโกงต่อองค์กรที่ตนทำงาน หรือกรณีที่เด็กนักเรียนเข้าไปในฐานข้อมูลการตัดเกรดของโรงเรียนแล้วเปลี่ยนระดับคะแนน

ที่ตัวเองได้รับ ก็จะเป็นการแสดงออกถึงการขาดความซื่อสัตย์

4. ความเสียสละ หมายถึง การปฏิบัติตนโดยอุทิศกำลังกาย กำลังทรัพย์ กำลังปัญญาเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นและ

สังคมด้วยความตั้งใจจริงมีเจตนาที่บริสุทธิ์ ซึ่งจะทำให้ตนเองมีคนรักใคร่เคารพนับถือไว้วางใจเป็นที่ยกย่องของสังคม ความเสียสละเป็นจริยธรรมที่จะที่จะช่วยให้สังคมดำเนินไปด้วยความราบรื่น คนเรานั้นไม่เท่ากันทั้งฐานะ ความรู้ ความสามารถ หากผู้คนดูแลแต่เรื่องของตนไม่ไยดีกับคนข้างเคียงคนเราก็จะอยู่กันไม่เป็นปกติสุข

5.ความอดทน หมายถึง ความเป็นผู้มีจิตใจเข้มแข็งไม่ท้อถอยต่ออุปสรรคใดๆ มุ่งมั่นทำงานให้บังเกิดผลดีโดยไม่ให้ผู้อื่นเดือดร้อน

ซึ่งมี 4 ลักษณะด้วยกัน คือ

- อดทนต่อความยากลำบาก เจ็บป่วยได้รับทุกขเวทนาก็ไม่แสดงอาการจนเกินกว่าเหตุ
-อดทนต่อการตรากตรำทำงาน ไม่ทอดทิ้งงาน ฟันฝ่าอุปสรรคจนประสบผลสำเร็จซึ่งเราควรที่จะยึดหลักปรัชญาของ

พลตรีหลวงวิติตรวาทการที่ว่า “ แม้ข้าพเจ้าจะแพ้คนอื่นในเรื่องอื่นบ้าง แต่ข้าพเจ้าไม่แพ้ใครในเรื่องความพากเพียร” เพราะคนเรานั้นอาจจะเกิดมาสูงต่ำดำขาวได้เหมือนกันแต่เราแต่เราทุกคนสามารถสร้างความพากเพียรได้

-อดทนต่อความเจ็บใจ ไม่แสดงความโกรธ ไม่โต้ตอบคนที่ทำให้เราโกรธ ไม่อาฆาตพยาบาท อดทนต่อคำเสียดสี
-อดทนต่อกิเลส คือไม่อยากได้ของผู้อื่นจนเกินทุกข์และไม่หลุมหลงในสิ่งที่จะพาเราไปพบกับความเสื่อมเสีย ผลของการมีกิเลส

และใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิดคือ กรณีที่ตำรวจจับชายคนหนึ่งซึ่งเขาไปเปลี่ยนแปลงข้อมูลการใช้ยาของภรรยา

ในฐานข้อมูลของแพทย์ประจำตัวของเธอโดยหวังให้เธอกินยาผิดขนาดและถึงแก่ชีวิตเพราะหวังเงินประกันชีวิตของเธอ

บ้างครั้งแฮกเกอร์ไปเป็นแครกเกอร์ จากเดิมที่เคยยึดคติของโรบินฮูดคือ ปล้นจากคนรวยให้คนจน

ก็กลายเป็นปล้นจากคนรวยให้ตัวเอง ในสหรัฐอเมริกาแครกเกอร์โดยเฉลี่ยทำเงินเข้ากระเป๋าตัวเองปีละ 20 ล้านบาท

6. หมายถึง การงดเว้นจากความชั่วร้ายหรือสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นซึ่งจะทำให้จิตรใจหดหู่เศร้าหมอง ซึ่งมี 3 ลักษณะ คือ
-การไม่ทำบาปทางกาย ไม่ฆ่าสัตย์ ไม่ทุจริต ไม่ลักขโมย ไม่ผิดประเพณี เช่น การขโมยอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์

และซอฟต์แวร์ต่างๆ ขององค์ที่ตนเองทำงานอยู่ไปขายหรือประโยชน์เพื่อตัวเอง

-การไม่ทำบาปต่อว่าจา เช่น ไม่โกหก ไม่กล่าวคำหยาบคาย ไม่ใส่ร้าน ไม่พูดเพ้อเจ้อ ตัวอย่างของการทำบาป

ดังกล่าวที่พบเห็นในอินเทอร์เน็ตคือ การกล่าวร้ายด้วยคำหยาบและคำเท็จทางเว็บบอร์ดว่าเขามีเพศสัมพันธ์กับเด็กอายุ 14 ปี และเด็กกำลังตั้งครรภ์ซึ่งหลังจากสร้างความวิตกกังวลต่าง ๆ นานาให้ผู้คนที่เขามาอ่านกระทู้ และตำรวจได้ตามจับกุมชายผู้นั้นได้ที่สุดซึ่งปรากฏว่าชายผู้นั้นเป็นการส่งข้อความในลักษณะขบขันคลายเครียดไม่มีมูลความจริงประการใด

-การไม่ทำบาปทางใจ เช่น ไม่คิดเนรคุณ ไม่คิดอาฆาตไม่คิดอยากได้ กรณีคนขางบ้านของร้านเสริมสวยที่ไม่ถูกกันนำเอา

เบอร์โทรศัพท์ลงในเว็บบอร์ด และบอกว่าเป็นสถานบริการก็เป็นตัวอย่างที่บ่งบอกถึงการนำความรู้ที่ตนเองมีไปใช้แก้แค้นในทางที่ผิด หรือชายหนุ่มนำเบอร์ดีดคนรักไปโพสต์ไว้ในเว็บบอร์ดแล้วบอกว่าเธอขายตัวให้คนโทรศัพท์มาหาได้ ก็เป็นตัวอย่างอีกอย่างหนึ่งที่บ่งบอก

ถึงการนำความรู้ที่ตัวเองมีไปแก้แค้นในทางที่ผิด

7.ความสามัคคี หมายถึง การที่ทุกคนมีความพร้อมกาย พร้อมไจ และพร้อมความคิดเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

มีความมุงหมายที่จะปฏิบัติงานให้สำเร็จโดยไม่มีการเงียงงอนหรือชิงดีชิงเด่นทุกคนช่วยกันมุ่งหวังที่จะให้สังคมประเทศชาติรุ่งเรือง ในกรณีของการขายข้อมูลขางด้านการค้าที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์บริษัทตัวเองของพนักงานที่ไม่ได้เลื่อนขั้นตามที่ตัวเองคิดไว้หรือ

เกลียดแค้นบริษัทด้วยเหคุผลอะไรก็ตามแต่ (เหตุไม่ดีเป็นส่วนใหญ่)ให้กับบริษัทคู่แข่งก็เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความอิจฉาริษยา

และการแตกความสามัคคีของคนในหมู่คณะเดียวกันหรือบางครั้งอาจจะไม่ขายข้อมูลให้ใครแต่ทำลายข้อมูลเฉย ๆ
ในการเรียนรู้ และการฝึกอบรมเพื่อสะสมประสบการณ์ของชีวิตในทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์นั้นมนุษย์ควรได้รับ

การปลูกฝังจริยธรรมไปด้วยพร้อมๆ กัน เพราะจริยธรรมมีความสำคัญอย่างมากซึ่งความสำคัญของจริยธรรมที่มีต่อมนุษย์คือ

-ช่วยให้ชีวิตดำเนินไปด้วยความราบรื่นและสงบ ถ้าคนในสังคมมีจริยธรรม
-สังคมก็จะสงบสุขไม่มีการข่มเหงเบียดเบียนกัน ทุกคนช่วยกันแก้ไขปัญหาและอุปสรรที่มีอยู่และพัฒนาบ้านเมืองให้

เจริญมั่นคงเป็นปึกแผ่น

-ให้คนเรามีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา ไม่เผลอตัวไม่ลืมตัว จะประพฤติปฏิบัติในสิ่งใดก็จะระมัดระวังอยู่เสมอ

จริยธรรมที่มีอยู่ในแต่ละตัวแต่ละคนจะเตือนสติให้รักษาเกียรติยศชื่อเสียงของตนเองและวงศ์ตระกูลไม่ไปเบียดเบียดผู้อื่น รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้ที่ด้อยโอกาสว่า สังคมก็จะสงบสุข ประเทศชาติก็จะมั่งคง จากการสำรวจอาชญากรทางคอมพิวเตอร์ในอเมริกาพบว่า 20 % เป็นคนหนุ่มสาววัยเรียนอายุตั้งแต่ 18-30 ปี เหตุผลที่อาชญากรคอมพิวเตอร์มักจะมีอายุน้อยก็เพราะเด็กวัยรุ่นมักมีหัวรุนแรง มีความใจกล้า และมักจะไม่คอยคิดหน้าคิดหลัง

เหมือนผู้สูงอายุ ความเสียหายที่เกิดจากอาชญากรรมคอมพิวเตอร์มีค่ามหาศาล ในปีหนึ่งๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นมีค่าถึง

175,000 ล้านบาท

-ช่วยสร้างความมีระเบียบให้แก่บุคคลในชาติ โดยตะเป็นตัวกำหนดการประพฤติปฏิบัติของบุคคลให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่

คนส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับว่าถูกต้อง กฎเกณฑ์นั้นจะมาจากความพอใจของคนเพียงคนเดียวไม่ได้ เมื่ออยู่คนเดียวย่อมเป็น

ไปไม่ได้เมื่อบุคคลประพฤติตามจริยธรรมของสังคมชีวิตก็จะมีระเบียบไม่ต้องพบกับอุปสรรค ถ้าทุกคนปฏิบัติเหมือนกันสังคมและ

ประเทศชาติก็จะเป็นระเบียบตามไปด้วย

-ช่วยควบคุมไม่ให้คนชั่วมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่นนับว่าเป็นคุณแก่สังคมเพราะนอกจาก

จะเป็นตัวอย่างโดยการชี้นำทางอ้อมแล้ว ยังจะช่วยแนะนำสั่งสอนโดยตรงอีกด้วย เช่น แนะนำให้แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม

ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ได้จนสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น สำหรับผู้ที่ปฏิบัติดีจรเป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่นได้นั้น ต้องปฏิบัติตนให้เสมอต้นเสมอปลายมิฉะนั้นผู้ที่ต้องการยึดเราเป็นตัวอย่างอาจหมดความศรัทธาและหมดกำลังใจหันกลับไป

ทำความชั่วเช่นเดิมอีก

-ช่วยทำให้มนุษย์นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ร่ำเรียนมาสร้างสรรค์แต่สิ่งที่ดีมีคุณค่า ถ้ามนุษย์นำความรู้และประสบการณ์มาใช้

ในการประกอบอาชีพที่สุจริต ย่อมสร้างสรรค์คุณประโยชน์ให้แก่คนทั่วไปรวมทั้งสังคมและประเทศชาติด้วย แต่ในทางตรงกันข้าม

ถ้ามนุษย์ขาดจริยธรรม ก็จะนำความรู้และประสบการณ์ที่มีไปเบียดเบียนเอาเปรียบผู้อื่น สร้างความเสียหายให้สังคม

และประเทศชาติเพียงเพื่อหวังให้ตนเองมีทรัพย์ มีสุข ผู้อื่นจะทุกข์อย่างไรก็ไม่คำนึงถึงเช่น โจรไซเบอร์ที่ขโมยหมายเลขบัตรเครดิตคนอื่น

และซื้อของออนไลน์ให้ตนเอง หรือการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ผลิตแบงค์ปลอมหรือใบขับขี่ปลอม เป็นกรณีที่แสดงได้อย่างชัดเจน

ถึงการนำความรู้ที่ตนเองมีมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง

-ช่วยควบคุมความเจริญทางด้านวัตถุและจิตใจของคนให้เติบโตไปพร้อมๆ กัน ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าด้านวัตถุหรือ

เทคโนโลยีมากขึ้น ถ้ามนุษย์นำความเจริญนี้มาใช้ในทางที่ผิดเช่น สร้างโปรแกรม Network Sniffer เพื่อดักรหัสผ่านในเน็ตเวิร์ก และนำไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง หรือการปล่อยไวรัสตัวแล้วตัวเล่ามาทำรายระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟท์ ไม่ว่าจะเป็นเมลิซ่า เลิฟบั๊ก เรดนิมด้า สาเหตุมาจากความอิจฉาริษยาที่ผู้คนนิยมใช้ซอฟต์แวร์ของบริษัท ไมโครซอฟท์ ความเดือดร้อนก็จะเกิดแก่คนทั่วไป แต่ถ้าผู้คิดค้นเทคโนโลยีของไวรัสเหล่านี้มีจริยธรรมเหตุการณ์เหล่านี้ก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะผู้ผลิตมีจิตใจสงบสุข จึงคิดแต่สิ่งสร้างสรรค์และมีคุณค่าต่อคนในสังคมและประเทศชาติ


บุคลิกของนักคอมพิวเตอร์

บุคลิกภาพหมายถึงพฤติกรรมที่เป็นภาพรวมของบุคคล ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของแต่ละบุคคลที่รวมกันแล้วทำให้บุคคลนั้นแตกต่างจากบุคคลอื่น พฤติกรรมที่แสดงออกในลักษณะต่าง ๆ เหล่านั้น ได้แก่ อุปนิสัย นิสัยใจคอ ทัศนคติ และความรู้สึกนึกคิดเป็น

ลักษณะของบุคลิกภาพที่พึงประสงค์จากการศึกษาและค้นคว้าวิจัยของนักจิตวิทยา และนักการศึกษาเกี่ยวกับบุคลิกภาพของมนุษย์ ทำให้ได้ข้อสรุปว่า บุคคลควรมีลักษณะของบุคลิกภาพที่พึงประสงค์เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข และลักษณะของบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ของสังคม ควรมีลักษณะดังนี้

1. ควรเป็นผู้ที่เจริญด้วยวุฒิภาวะ
2.ควรเป็นผู้มีความพร้อม
3.ควรเป็นผู้มีบุคลิกภาพพอดี

บุคลิกภาพของนักคอมพิวเตอร์ งานอาชีพคอมพิวเตอร์เป็นงานที่ต้องรับผิดชอบร่วมกับบุคคลหลายระดับบางครั้งอาจเป็นบุคคลต่างสาขาอาชีพ ดังนั้นการประกอบอาชีพงานคอมพิวเตอร์จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงบุคลิกภาพที่เหมาะสมรวมทั้งผู้มีอาชีพนักคอมพิวเตอร์จะต้องเรียนรู้ ความชำนาญในวิชาชีพด้วย และจำเป็นต้องเรียนรู้และฝึกฝนในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและสร้างความประทับใจให้แก่ลุกค้าผู้มาติดต่อ นายจ้าง รวมทั้งเป้าหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสายงานทั้งทางตรงและทางอ้อมงานของนักคอมพิวเตอร์จะดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ หรือไม่นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ แต่ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งก็คือ บุคลิกภาพคนส่วนมากมักจะคิดว่านักคอมพิวเตอร์จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถดีมีประสบการณ์ในการทำงานมาเป็นอย่างดี แต่ลืมนึกถึงเป็นส่วนประกอบปลีกย่อยที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง คือ บุคลิกภาพ ถึงแม้บุคลิกภาพจะเป็นประกอบเสริม แต่ก็เป็นการทำให้ภาพลักษณ์โดยรวมที่ทำให้งานอาชีพประสบผลสำเร็จโดยไม่แพ้องค์ประกอบด้านอื่น ๆ

การพัฒนาบุคลิกภาพเพื่องานอาชีพงานอาชีพคอมพิวเตอร์นับว่ามีความสำคัญต่อหน่วยงาน สถาบัน และองค์กรทางธุรกิจต่าง ๆ มากมาย ดังนั้นผู้ที่เป็นนักคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีบุคลิกที่เอื้ออำนวยให้เกิดภาพลักษณ์ในทางบวกต่อตนเองและงานอาชีพ ในที่จะขอกล่าวบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ในงานคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นการพัฒนาปรับปรุงบุคลิกภาพให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดความเชื่อถือศรัทธา และเป็นที่ยอมรับของผู้ที่มาติดต่อสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าผู้ใช้บริการ หรือนายจ้างบุคลิกของนักคอมพิวเตอร์จึงมีส่วนช่วยในการทำงานประสบความสำเร็จ ฉะนั้นจึงควรมีการพัฒนาบุคลิกภาพด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้

1. รู้จักพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รอบรู้
2. รู้จักฝึกตนเองให้มีความอดทน

3. รู้จักฝึกตนเองให้เป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง
4. รู้ปรับตัวในด้านความสัมพันธ์ดี

5. รู้จักปรับตัวให้ทำงานกับผู้อื่นได้
6. รู้จักตนเองให้เป็นคนตรงต่อเวลาในการนัดหมาย

7. รู้จักฝึกตนเองให้มีความรับผิดชอบในการ
8.รู้จักดูแลตนเองในด้านการแต่งกายให้เหมาะสมกับงานและตำแหน่งเครื่องแต่งกายที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพให้แก่ผู้ที่พบเห็นได้อีกด้วย

9. รู้จักคิดและพัฒนาอุปนิสัยให้คนซื่อสัตย์ และมีความจริงใจต่อผู้อื่น
10. รู้จักการทำตนให้เป็นคนกล้ายอมรับความจริง

เกมมาสเตอร์

Game Master

Game Master คือ ผู้ให้บริการเรื่องทั่วไปและให้อำนวยการความสะดวกด้านต่างๆให้กับผู้เล่น "แต่ไม่ได้เป็นผู้ดูแล Server ไม่ได้เป็นการตลาด ไม่ได้กำหนดราคาของหรือแจกของ ไม่ได้แก้ปัญหาด้านเทคนิคต่างๆ รวมทั้งแก้บั๊ก" ซึ่ง Gm นั้นเปรียบเสมือน ผู้รับเรื่องหรือปัญหาต่างๆจากผู้เล่น จากนั้นจะส่งเรื่องต่างๆนั้นไปยัง ฝ่ายแก้ไขเฉพาะเรื่องนั้นๆไป ดังนั้นการแก้ไขปัญหาต่างๆ จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับปัญหาที่แจ้งมานั้น ต้องผ่านการตรวจสอบก่อน จากนั้นจึงค่อยส่งเรื่องไปยังฝ่ายเทคนิค แล้วจึงแก้ไข เมื่อแก้ไขเสร็จแล้วจึงส่งเรื่องมายังGm เพื่อแจ้งผลการแก้ไขกับ Gm ซึ่งหาก Gm ตรวจสอบแล้วเรื่องยังไม่เรียบร้อย หรือยังมีข้อผิดพลาดทาง Gm จะส่งเรื่องกลับไปยังฝ่ายตรวจสอบเพื่อให้แก้ไขใหม่






หน้าที่ของ Gm
คอยสอดส่องดูแล ความเรียบร้อย และความสงบภายใน Game คอยให้คำปรึกษาต่างๆให้กับผู้เล่น คอยแนะนำช่วยเหลือด้านต่างๆ
ในเกม หรือความเหมาะสมในการดำเนินชีวิต สนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้เล่นทุกคนรู้จักใช้สติปัญญา ใช้เหตุผล และความรอบคอบ ก่อนที่จะ
ตัดสินใจกระทำการใดๆ ลงไป เช่น การแบ่งเวลาในการเล่นเกมให้เหมาะสม , การใช้จ่ายที่อยู่ในหลักของความพอเพียง และส่งเสริมให้ผู้เล่น
ทุกคนมีความรักสามัคคีปรองดองกัน สนับสนุนให้ผู้เล่นทุกคนให้ความเคารพ และปฏิบัติตามกฏ กติกา มารยาทของสังคม


คุณสมบัติของ Gm

ผู้ที่จะทำหน้าที่ Gm นี้ จำเป็นต้องมีความอดทนอดกลั้นและการยับยั้งชั่งใจสูงมาก อีกทั้งยังต้องมี จริยธรรม จรรยาบรรณ ควบคู่กันไปด้วย ซึ่งในการรับปัญหาหรือรับเรื่องจากผู้เล่นนั้น ต้องใช้ความอดทนสูง เนื่องจากอาจมีผู้เล่นที่ประสบปัญหาในเกมมา ทำให้เกิดอารณ์ร้อนโมโห โกรธ ได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของ Gm ที่จะต้องคอยแนะนำ ชี้แนะ และเสนอแนวทางแก้ไขด้วยเข้าใจและเป็นกันเองต่อผู้เล่น เพื่อให้ผู้เล่นได้ผ่อนคลายและใจเย็นขึ้น อีกทั้งการที่มี Gm ดูแลใน Server ตลอดวันก็อาจจะเจอปัญหา ผู้เล่นทะเลาะกัน หรือชวน Gm ทะเลาะด้วยดังนั้น Gm จึงต้องสุขุม เยือกเย็น และพร้อมที่จะตัดสินด้วยความเป็นกลาง ถึงแม้ว่าจะชอบหรือไม่ชอบใคร แต่ต้องตัดสิน ลงโทษหรือตักเตือนด้วยความห่วงใย และยุติธรรม อย่างสมมุติถ้ามีคนมาด่า Gm แล้วไปด่ากลับก็ถือว่าใช้ไม่ได้ หรือถ้ามีคนไม่ชอบมาแจ้งเรื่องปัญหา แล้วแก้ให้ช้า อย่างนี้ก็ไม่ได้เช่นกัน หรือการลงโทษที่จะลงโทษเฉพาะคนที่ไม่ชอบนั้นถือว่าไม่ถูกต้อง ทางด้านการลงโทษของ Gm นั้น มิได้มุ่งหวัง
เพื่อความสะใจ-สนุก-หรือความชอบส่วนตัว ทุกๆครั้งที่ Gm ได้ลงโทษผู้กระทำผิดในเกม ตัว Gm ผู้ลงโทษนั้นได้เหมือนรู้สึกว่าโดนลงโทษตามไปด้วย เพราะทุกครั้งที่ได้ลงมือ Ban ไปนั้น ได้หวนกลับมาคิดถึงสังคมเกมตัวเอง และสังคมไทยเสมอๆ โดยทุกครั้งที่แบนไปได้ภาวนาอยู่เสมอๆ จะมีวันไหนที่ ผู้เล่นเล่นกันอย่างสนุกสนาน ไร้การกระทำผิดกฏใดๆ ไม่มีการด่ากัน ว่ากันทุกคนเป็นเพื่อนกันหมด นั่นคงดีไม่น้อย และการลงโทษนั้น Gm มิได้กลั่นแกล้ง หรือรังแกผู้เล่นแต่อย่างไร แต่เพื่อให้คนๆนั้นได้สำนึก และรู้สึกผิดกับสิ่งที่ตัวเองได้กระทำลงไปและเพื่อให้ผู้นั้นกลับใจเพื่อเป็นคนดีของสังคมต่อไป


อ้างอิง : http://www.getamped.in.th/gmzone/how_to_gm.php

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ความสัมพันธ์ของจริยธรรมในอาชีพคอมพิวเตอร์ กับจริยธรรมในทางพระพุทธศาสนา

1.ความหมายของจริยธรรม

ความหมายของ จริยธรรมจริยธรรม หมายถึง ข้อที่ควรประพฤติปฏิบัติ เป็นธรรมะทางใจที่ควบคุมพฤติกรรม ความประพฤติที่ดีที่ชอบที่ถูกที่ควร เป็นเรื่องของความรู้สึกในการพัฒนาตนเอง ที่มุ่งหมายให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ดำรงชีวิตอยู่อย่างบริบูรณ์เปี่ยมไปด้วยความดีทั้งกายวาจาและใจจริยะหรือ จริยา คือ ความประพฤติ การกระทำ เมื่อสมาสกับคำว่า ธรรม หรือ ธรรมะ จึงเป็นความประพฤติที่ถูกต้องตามครรลองครองธรรม ชอบธรรม เป็นธรรมชาติจริยธรรมเป็นเรื่องสำคัญในการทำงาน ควบคู่กับ วินัย อันเป็นข้อห้ามหรือข้อบังคับให้ต้องปฏิบัติ สำหรับข้าราชการก็ให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการดังนั้น จริยธรรม จึงเป็นความประพฤติ การกระทำและความคิดที่ถูกต้องดีงาม รวมถึงการทำหน้าที่ของตนให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เว้นในสิ่งที่ควรละเว้น ประกอบการและดำรงชีวิตอย่างฉลาด ด้วยสติและปัญญา รู้เหตุรู้ผลรู้กาลเทศะ กระทำทุกอย่างด้วยความรอบคอบ เสียสละอุทิศตน มุ่งมั่นและบากบั่นจริยธรรมจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นยิ่งสำหรับทุกคน ทุกหมู่เหล่าและทุกอาชีพ สังคมจะอยู่รอดและเป็นสุขได้ ก็ด้วยจริยธรรม
• ถึงสูงศักดิ์ อัครฐาน สักปานใด
• ถึงวิไล เลิศฟ้า สง่าศรี
• ถึงฉลาด กาจกล้า ปัญญาดี
• ถ้าไม่มี คุณธรรม ก็ต่ำคน

ความสำคัญของจริยธรรม จริยธรรม จึงเป็น…เครื่องมือยุทธศาสตร์ของชาติ และ สังคมเครื่องชี้วัดความเจริญความเสื่อมของสังคมหัวใจของการพัฒนาที่ยั่งยืน การพัฒนาที่เหนือกว่าความเจริญทางวัตถุรากฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข การยอมรับนับถือซึ่งกันและกันของทุกคนและทุกกลุ่มในสังคมรากฐานของความเข้มแข็งของชาติ กองทัพ และกลุ่มอาชีพเรื่องของการพัฒนาคุณภาพชีวิต ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเป็นอำนาจกำลังรบที่ไม่มีตัวตน และเป็นตัวคูณอำนาจกำลังรบ


2.ความหมายของจริยธรรมทางธุรกิจ


จากการศึกษาสามารถสรุปความหมายของ จริยธรรมทางธุรกิจ ได้ดังนี้

จริยธรรมทางธุรกิจ คือ การทำธุรกิจอย่างมีจริยธรรม หมายถึง เป็นผู้
ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตจำหน่าย หรือบริการด้วยจริยาวัตรที่ดีงาม ผู้คุณธรรม มีมารยาท ซึ่งตรงยุติธรรม
จริยธรรมทางธุรกิจ เป็นมาตรฐานของการประกอบธุรกิจ การผลิตสินค้า การ
ให้บริการการจัดจำหน่ายเพื่อได้รับผลตอบแทนตามสมควรกับการที่ลงทุนไปอย่าง
เป็นธรรม ต่อทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผลิตหรือผู้โภคเจ้าของกิจการ ผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร
ผู้ร่วมงาน ผู้รับบริการ รัฐบาลสังคม ซึ่งต่างมีความสัมพันธ์เชิงธุรกิจร่วมกัน
จริยธรรมทางธุรกิจ หมายถึง กลไกทุกส่วนที่ให้ความชอบธรรมเพื่อ
ประสิทธิภาพสูงสุดของธุรกิจ


3. จริยธรรมในพระพุทธศาสนา

ในทางพระพุทธศาสนาได้แบ่งระดับของธรรมอันเป็นที่มาของจริยธรรมไว้เป็น 2 ระดับ ดังนี้

1. ระดับโลกียธรรม โลกียธรรม หมายถึง ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก สภาวะธรรมที่เกี่ยวกับโลก เป็นธรรมในระดับเบื้องต้นของบุคคล จริยธรรมในระดับโลกียธรรมมุ่งให้บุคคลอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ทำแต่ความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส จริยธรรมในระดับนี้เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปจะนำไปประพฤติปฏิบัติ การประพฤติปฏิบัติโดยทั่วไปจะนำคำสั่งสอนหรือพุทธวัจนะมาเป็นแนวทางในการกำหนดขอบข่ายของจริยธรรมของแต่ละองค์กรในสังคมให้มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เช่น ระเบียบของสังคม จารีต ขนบธรรมเนียม ประเพณี กฎกติกา ข้อบัญญัติ กฎหมายต่าง ๆ เป็นต้น
2. ระดับโลกุตรธรรม โลกุตรธรรม หมายถึง ธรรมที่พ้นวิสัยของโลก สภาวะพ้นโลก พ้นจากกิเลส เป็นธรรมในระดับสูง หรือธรรมสำหรับบุคคลผู้มีสติปัญญาแก่กล้าเข้าใกล้ความเป็นอริยบุคคลหรือผู้หลุดพ้นจากกิเลส ธรรมในระดับนี้แบ่งตามสภาวธรรมของบุคคลเป็น 4 ระดับ คือ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี และอรหันต์ ธรรมที่กล่าวมานี้เป็นธรรมหรือข้อปฏิบัติที่ผู้ประพฤติมีความมุ่งมั่นที่จะฝึกฝนตนเองทั้งกาย วาจา ใจ อย่างระมัดระวังและเคร่งครัดในคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ถือเป็นข้อปฏิบัติที่มีวิถีทางที่แตกต่างไปจากจริยธรรมในระดับ โลกียธรรมของบุคคลธรรมดาทั่วไปโดยสิ้นเชิง

4.องค์ประกอบของจริยธรรม

1) ระเบียบวินัย (Discipline) การที่สังคมจะมีระเบียบวินัย ในสังคมจะต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นไปตามข้อตกลงของสังคม อันได้แก่ กฎหมาย จารีต ประเพณี

2) สังคม (Society) การรวมกลุ่มกันเป็นสังคมหรือประกอบกิจกรรมใด ในสังคมก็ตามจะต้องมีแบบแผน มุ่งเน้นหรือเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม

3) อิสระเสรี (Autonomy) การมีอิสระเสรีนั้นสังเกตได้จากการที่บุคคลในสังคมมีเสรีภาพในการปกครองตน


5.ประเภทของจริยธรรม

จริยธรรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1) จริยธรรมภายนอก เป็นจริยธรรมที่บุคคลแสดงออกทางพฤติกรรมภายนอกที่ปรากฏให้เป็นที่สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น ความรับผิดชอบ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยความมีวินัย การตรงต่อเวลาเป็นต้น

2) จริยธรรมภายใน เป็นจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิดหรือทัศนคติของบุคคลิตามสภาพของจิตใจและสภาวะแวดล้อม เช่น ควงาใมซื่อสัตย์ ความยุติธรรม ความเมตตากรุณา ความกตัญญูกตเวที เป็นต้น


6.คุณลักษณะของจริยธรรม

คุณลักษณะของจริยธรรมเป็นสิ่งที่แสดงลักษณะเฉพาะของจริยธรรมเพื่อให้เห็นเด่นชัดในด้านหนึ่งและมีความแตกต่างจากจริยธรรมด้านอื่น ทั้งนี้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านการศึกษาหลายหน่วยงาน ได้กำหนดโครงสร้างจริยธรรม พร้อมทั้งกำหนดคุณลักษณะของจริยธรรม ไว้ดั้งนี้

1) ความรับผิดชอบ หมายถึง การปฏิบัติหน้าที่อย่างตั้งใจ มีความละเอียดรอบคอบ มีความพากเพียรพยายามเพื่อให้งานหรือภาระที่รับผิดชอบอยู่บรรลุผลสำเร็จตรงตามเป้าหมาย

2) ความซื่อสัตย์ หมายถึง การประพฤติปฏิบัติตนอย่างตรงไปตรงมาตรงต่อความเป็นจริง ทั้งการ วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น

3) ความมีเหตุผล หมายถึง การรู้จักใช้สติปัญญา ไตร่ตรอง คิดใคร่ครวญ หรือพิสูจน์ สิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ประจักษ์ โดยไม่ผูกพันกับอารมณ์ และความยึดมั่นในความคิดของตนเอง

4) ความกตัญญูกตเวที หมายถึง ความรู้สึกสำนึกในบุญคุณของบุคคลผู้มีอุปการะคุณ หรือ สิ่งอันมีคุณต่อมนุษย์เรา และแสดงออกถึงความสำนึกในบุญคุณนั้นด้วยการตอบแทนคุณ อาจกระทำด้วยสิ่งของหรือการกระทำอย่างนอบน้อม

5) ความอุตสาหะ หมายถึง ความพยายามอย่างยิ่งยวด เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จในการงานหรือกิจกรรมที่ทำด้วยขยันขันแข็งกระตือรือร้น อดทน ถึงแม้จะประสบปัญหาหรืออุปสรรคขัดขวางก็ไม่ยอมแพ้และไม่ย่อท้อ

6) ความสามัคคี หมายถึง ความพร้อมเพียงเป็นนำหนึ่งใจเดียวกัน การให้ความร่วมมือในการกระทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จลุล่วงด้วยดีโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว รวมทั้งมีความรักในหมู่คณะของตน

7) ความมีระเบียบวินัย หมายถึง การควบคุมความประพฤติของตนเองให้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับจรรยามารยาททางสังคม กฏ ระเบียบข้อบังคับ กฏหมายและศลีธรรม

ความเสียสละ หมายถึง การลดละความเห็นแก่ตัว การแบ่งปันแก่คนที่ควรให้ด้วยทรัพย์สิน กำลังกาย และกำลังปัญญาของตนเอง

9) ความประหยัด หมายถึง การใช้สิ่งของหรือใช้จ่ายอย่างระมัดระวังและพอเหมาะพอควร เพื่อให้เกิดประโยชนสูงสุด ไม่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ้มเฟือยจนเกิดฐานะของตน

10) ความยุติธรรม หมายถึง การปฏิบัติตนด้วยความเที่ยงตรง การพิจารณาเรื่องราวต่างๆ จะต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ไม่มีความลำเอียงหรือเข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

11) ความเมตตากรุณา หมายถึง ความรักใคร่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุขและมีความสงสารอยากจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นจากความทุข์