ลักษณะพฤติกรรมชี้บ่ง ได้แก่
1. ไม่ยอมรับส่วนแบ่งในสิ่งที่ตนมีอยู่แล้วและไม่จำเป็น
2. เสียสละในส่วนแบ่งของตนให้ผู้ที่ขาดแคลนและมีความจำเป็นกว่า
3. เลือกฟังคำพูดที่ก่อให้เกิดไมตรี
4. เสนอตัวช่วยเหลือแนะนำทบทวนฝห้กับผู้ที่ยังไม่เข้าใจ
5. แสดงความยินดีในความสุ๘ ความสำเร็จของผู้อื่น
6. ให้เพื่อนหยิบยืมหนังสือ เครื่องเขียนเมื่อตนไม่จำเป็นต้องใช้
7. ไม่รังแกสัตว์ เพื่อน
8. พูดสุภาพอ่อนโยนต่อบุคคลทั่วไป
9. แสดงความเคารพนอบน้อม
10. แบ่งปันสิ่งของเครื่องใช้แก่ผู้อื่นตามกำลังของตน
11. พูดปลอบโยนเมื่อผู้อื่นมีทุกข์
12. ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น
13. ไกล่เกลี่ยความแตกแยกในหมู่คณะ
14. ไม่นำเอาคำพูดที่ไม่ดีจากคนอื่นมาเล่าให้เพื่อนฟัง
15. แสดงความเป็นเพื่อน
16. แนะนำอธิบายคนอื่น ๆ ในการเรียนและการปฏิบัติตน
17. พูดจาเป็นการให้กำลังใจแก่เพื่อน ๆ
18. ลงมือช่วยเพื่อนเมื่อได้รับการขอร้อง
19. เมื่อทำงานร่วมกันก็รับผิดชอบและช่วยกันแก้ไขร่วมกัน
20. ไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตน
21. บำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม
22. พูดชักชวนผู้อื่นให้ปฏิบัติเพื่อส่วนรวม
23. พูดมีเหตุผล
24. เมื่อทำงานเป็นกลุ่มก็ ไม่นำเอาผลงานของกลุ่มมาเป็นของตน
25. ไม่พูดจาให้กลุ่มหมดกำลังใจในการทำงาน
26. ไม่นำเอาส่วนของส่วนรวมมาใช้ประโยชน์ส่วนตัว
27. ร่วมลงมือช่วยกลุ่มแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยตลอด
28. เลือกพูดแต่ในสิ่งดีงามของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม
4. สติ-สัมปชัญญะ
เป็นจริยธรรม สำคัญที่เน้นการควบคุมตนเองให้มีความพร้อม มีสภาพตื่นตัวฉับไวในการรับรู้ทางประสาทสัมผัส ในการตัดสินยใจ และในการกระทำพฤติกรรมอย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของการสำรวบคอบ และระมัดระวัง
ลักษณะพฤติกรรมชี้บ่ง ได้แก่
1. รู้ตัวตลอดเวลาว่าตนเองกำลังคิดและทำอะไร
2. ตระหนักในข้อดีและข้อเสียของพฤติกรรมของตน
3. มีความฉับพลันไวในการรับรู้สิ่งเร้าภานนอก
4. ยับยั้งการแสดงพฤติกรรมของตนได้ทันก่อนที่จะก่อให้เกิดผลเสียหายทั้งความพร้อมที่จะแก้ปัญหา
5. เมื่อประสบปัญหาข้อยุ่งยากก็จะควบคุมอารมณ์และความคิดของตนให้มีความพร้อมที่จะแก้ปัญหา
6. ควบคุมตนเองไำม่ให้ตกเป็นทาสของสิ่งยั่วยุมอมเมา
7. ระลึกมั่นในความถูกต้องดีงามประจำใจโดยตลอด
8. ควบคุมตนเองไม่ให้เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย
10. ตักเตือนผู้อื่นให้ยับยั้งควบคุมพฤติกรรมของเขา ที่กอาจก่อให้เกิดความเสียหาย
5. ความไม่ประมาท
เป็นจริยธรรมเสริม "สติ-สัมปชัญญะ" ที่เน้นการพิจารณาสภาพการณ์แวดล้อมพิจารณาถึงผลที่จะตามมาของการกระทำ หรือไม้กระทำพฤติกรรมต่าง ๆ แล้วดำเนินการวาสงแผนการจัดสถานการณ์หรือกระทำ เพื่อให้บังเกิดผลดีที่สุดอย่างเหมาะสม
ลักษณะพฤติกรรมชี้บ่ง ได้แก่
1. ทำงานด้วยความระมัดระวัง ตั้งใจ ไม่ผลึผลามและเลินเล่อ
2. เตรียมเครื่องมือใช้ประกอบการเรียนให้พร้อมอยู่เสมอ เช่นดินสอ ปากกา ยางลบ ไม้บรรทัด ฯลฯ
3. เชื่อฟังคำสั่งสอนตักเตือนของพ่อแม่ ครู อาจารย์ และปฏิบัติตามทุกครั้ง
4. เมื่อมีปัญหาให้ปรึกษาขอคำแนะนำจากพ่อแม่ ครูอาจารย์ หรือผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิด
5. ดูหนังสืออย่างสม่ำเสมอไม่รอไว้จนถึงวันสอบ
6. ทำงานด้วยความละเอียดรอบคอบและทบทวนทุกครั้ง
7. หมั่นดูแลรักษาเครื่องมือ เครื่องใช่อยู่ในสภาพดีเสมอ
8. หมั่นปรึกษาและขอคำแนะนำจากผู้รู้ในการทำงานทุกครั้ง
9. สร้างสุขนิสัยที่ดีและหลีกเหลี่ยงสิ่งที่จะให้โทษแก่สุขภาพและร่างกายของตน
10. หมั่นศึกษาหาความรู้ให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ
11. มีอารมณ์หนักแน่นเมื่อเผชิญกับปัญหาหรืออุปสรรคใด ๆ
12. ตรวจสอบผลงานของตนเองเสมอ และนำข้อเสียมาปรับปรุงแก้ไข
13. มีการวางแผนงานและคำนึงถึงผลดี - ผลเสียของงานที่จะทำก่อนทุกครั้ง
14. มีความระมัดระวังและปฏิบัติงานตามระเบียบ หรือกฎเกณฑ์ขอสังคมและบ้านเมือง
15. คอยดูแล ตรวจสอบสุขภาพของตนให้แข็งแรงและสมบูรณ์อยู่เสมอ
16. รู้จักควบคุมตนเองคือมีสติรอบคอบเตรียมพร้อมที่จะรับสถานการณ์และใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาทุกขณะ
17. ไม่เล่นหรือทำของผู้อื่นให้เสียหาย
18. ระมัดระวังในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
19. ดูแล ระวังรักษาของใช้ของผู้อื่นให้เหมือนของตน
20. ไม่ทำงานทีเสี่ยงต่ออันตราย
21. ทำงานร่วมกับผู้อื่นด้วยความรอบคอบและตั้งใจ
22. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และใช้เหตุผลประกอบในการทำงานทุกครั้ง
23. ศึกษาแนะนำการใช้เครื่องมือเครื่องใช้ที่ถูกวิธีแก่ผู้ร่วมงาน ไม่ให้เสียหายและเป็นอันตราย
24. ดูแลรักษาของใช้ให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ
25. ไม่ฟังคำยุยงของผู้อื่น ต้องคิดพิจารณาและต้องไตร่ตรองให้รอบคอบทุกครั้งในการทำงาน
26. ไม่ทำลายทรัพย์สินที่เป็นของส่วนรวม
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น