บทบาทและหน้าที่ของนักคอมพิวเตอร ์ความหมายของ “บทบาท” คือ พฤติกรรมหรือการกระทำที่บุคคลแสดงออกตามตำแหน่งหน้าที่ที่ตนได้รับ การแสดงออกนั้นย่อมผูกพันกับความรับผิดชอบของผู้ดำรงตำแหน่งกับความคาดหวังของผู้อื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตำแหน่งนั้น บทบาทของนักคอมพิวเตอร์จึงหมายถึง พฤติกรรมหรือการกระทำที่นักคอมพิวเตอร์แสดงออกฐานะกลไกที่มีส่วนผลักดันความเจริญก้าวหน้าของสังคมด้านเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ พฤติกรรม เช่นนี้เป็นที่คาดหวังของสังคมว่านักคอมพิวเตอร์จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และเป็นผู้มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ในระดับที่ปัญญาชนพึงปฏิบัติ
ความรับผิดชอบของนักคอมพิวเตอร์ “ความรับผิดชอบ” หมายถึง ความสนใจตั้งใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเพียรพยายาม ละเอียดรอบคอบ เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย และยอมรับผลการกระทำของตน ทั้งในด้านที่ดีและผลเสีย ที่พยายามปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่ให้ดียิ่งขึ้นประเภทของความรับผิดชอบ สามารถสรุปได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.ความรับผิดชอบต่อตนเอง หมายถึง การรู้จักหน้าที่ของตนเอง และปฏิบัติหน้าที่การงานของตนให้ลุล่วงไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทันเวลากำหนด และตรงต่อเวลา
2.ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม หมายถึง การรู้จักปฏิบัติหน้าที่ของตนเองโดยคำนึงถึงคนส่วนใหญ่หรือสังคมส่วนรวมอันได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้องในครอบครัว ชุมชน สังคมทั่วไป ประเทศชาติ โดยปฏิบัติอย่างถูกต้องเหมาะสม และเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
คุณสมบัติของนักคอมพิวเตอร ์นักคอมพิวเตอร์ที่ดีควรมีคุณสมบัติที่เอื้อประโยชน์ต่องานอาชีพ คุณสมบัติที่ของนักคอมพิวเตอร์ ควรมีลักษณะ ดังนี้
1. เป็นนักวางแผนที่ดี
2. เป็นนักออกแบบที่สร้างสรรค์
3. เป็นนักจิตวิทยา
4. เป็นผู้มีสติ
5. เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบ
6. เป็นผู้ใช้ศาสตร์ใช้ศิลป์ได้อย่างกลมกลืน
7. เป็นผู้มีวินัยในตนเอง
8. มีความขยัน อดทน
9. มีความกระตือรือร้น สนใจศึกษาค้นคว้าอยู่เสมอ
10. มีจรรยาต่อวิชาชีพ
ค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักคอมพิวเตอร์ค่านิยม หมายถึง ภาวะของจิตใจในการยึดถือปฏิบัติตามความชื่นชอบ หรือความสนใจ และถือเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจในเลือกกระทำสิ่งที่ยึดถือตามความพอใจนั้น ค่านิยมประสงค์ในการเป็นนักคอมพิวเตอร์ที่ดี มีดังนี้
1. มีความภูมิใจในอาชีพของตน
2. มีความภูมิใจในการทำงานที่ประโยชน์ต่อสังคม
3. มีความสนใจใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ
4. รักษาชื่อเสียงของหมู่คณะ และเพื่อนร่วมอาชีพ
5. มีความอดทน อดกลั้นไม่ย่อท้อในการปฏิบัติงาน
6. คำนึงถึงส่วนรวมอยู่เสมอ
7. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
8. มีความกล้าหาญที่จะเผชิญปัญหา และอุปสรรค
9. ยกย่อง และให้เกียรติเพื่อนร่วมงาน
10. ศึกษาปัญหาด้วยความสุขุมรอบคอบ
ความหมายของจริยธรรมในคอมพิวเตอร์
จริยธรรมมาจากคำว่า จริยาและคำว่าธรรมคือกริยาที่ควรประพฤติและธรรมคือหลักดังนั้นสรุปได้ว่า
จริยธรรม หมายถึงหลักที่ควรประพฤติปฏิบัติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเสียหาย กล่าวคือ ควรประพฤติ กระทำให้สิ่งที่ควรประพฤติ
และไม่ควรประพฤติในสิ่งที่ไม่ควรกระทำ เมื่อเรานำมาพิจารณาจริยธรรมกับเทคโนโลยีโดยเฉพาะกับคอมพิวเตอร์นั้นเราจะเห็นว่าเกี่ยว
ข้องกันอย่างแยกเสียงไม่ได้ ถ้าผู้คนเจริญด้านวัตถุแต่ในทางตรงกันข้ามกับเสื่อมลงมาด้านจริยธรรมแล้วนั้น
ความวุ่นวายในสังคมคอมพิวเตอร์ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
ตัวอย่างของการกระทำที่ยอมรับ กันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เช่น
การใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือให้เกิดความรำคาญ เช่นการนำภาพหรือข้อมูลส่วนตัวของบุคคลไปลงบนอินเทอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาต
การใช้คอมพิวเตอร์โดยการขโมยข้อมูล การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่รับอนุญาต การละเมิดลิขสิทธิ์
จริยธรรมที่สำคัญและจำเป็นที่ควรจะปลูกฝังเพื่อให้บุคคลได้ประพฤติปฏิบัติแต่ในสิ่งที่ควรเมื่อใช้เทคโนโลยีโดยเฉพาะคอมพิวเตอรทั้งยังนำความสุขความเจริญมาสู่ประเทศชาติ สังคม ได้แก่
1. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ คือ การปฏิบัติกิจการงานของตนเองและงานที่ได้รับมอบหมายด้วยความมานะพยายาม
อุทิศกำลังกาย กำลังใจสุดความสามารถ ไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อยจนงานประสบความสำเร็จตรงตามเวลาบังเกิดผลดีแก่ตนเอง
และส่วนรวมไปถึงการรับผิดชอบเมืองานล้มเหลว โดยการพยายามแก้ปัญหาและอุปสรรคโดยไม่ท้อถอยจนประสบความสำเร็จ
ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่เกี่ยวของกับระบบคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งออกเป็นโดยไม่ท้อถอยจนประสบความสำเร็จความรับผิดชอบ
ต่อหน้าที่ที่เกี่ยวของกับระบบคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ความรับผิดชอบด้วยกันคือ
ความเป็นส่วนตัว คือ ความรับผิดชอบของผู้ที่เก็บข้อมูล มิให้ข้อมูลส่วนตัวของบุคคลที่มีอยู่ในฐานข้อมูลแพร่กระจายออกไปโดยไม่ได้รับ
ความยินยอมจกเจ้าของข้อมูล เพราะปัจจุบันในสหรัฐอเมริกาชื่อและที่อยู่ของบุคคล 1 คนสามารถขายได้ในราคา 1 เหรียญ
บริษัทชื้อข้อมูลไปถ้านำไปทำมิดีมิร้ายก็จะตกกับเจ้าของข้อมูลนั้น ๆ จากการวิจัยพบว่าบริษัทขายข้อมูลบางแห่งสามารถเก็บข้อมูลได้ถึง
80% ของจำนวนบ้านเรือนทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา ข้อมูลทางด้านการแพทย์ของบุคคลก็เป็นที่นิยมชื้อกันของบริษัทผลิตยา เพื่อที่จะนำไปผลิตยาได้ตรงตามความต้องการของผู้คนซึ่งอาจจะไม่ใช้สิ่งที่เลวร้ายนัก แต่จะคิดอย่างไรถ้าข้อมูลทางด้านการแพทย์
ของเราที่คิดว่าน่าจะเป็นความลับ ถูกเจ้านายที่ใช้ในการพิจารณาประกอบการเลื่อนขั้นเงินเดือนการเลื่อนตำแหน่งหน้าที่ การไล่ออก ข้อมูลทางด้านการเงินกำลังเป็นที่สนใจของบริษัทบัตรเครดิตและบริษัทให้กู้เงิน เพื่อนำไปใช้การประกอบการพิจารณา
ออกบัตรเครดิตหรือปล่อยเงินกู้
ความถูกต้อง คือ ความรับผิดชอบของผู้ที่เก็บข้อมูลโดยจะต้องมั่นว่าข้อมูลที่จะเก็บมามีความถูกต้องและแน่นอน
เพราะข้อมูลที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนอาจนำมาซึ่งความเสียหายแก่บุคคลผู้ผู้เป็นเจ้าของข้อมูลได้
-ความเป็นเจ้าของ คือ ความรับผิดชอบของผู้เก็บข้อมูลในการที่จะบ่งบอกว่าใครเป็นเจ้าของข้อมูลใดและซอฟต์แวร์ใดเป็นของใคร
-การเข้าถึง คือ คือความรับผิดชอบของผู้ที่เก็บข้อมูลและซอฟต์แวร์ว่าจะอนุญาตให้ผู้ใดเข้ามาใช้และใช้ในระดับไหน2. ความมีระเบียบวินัยหมายถึง การเป็นผู้รู้และปฏิบัติตามแบบแผนที่ตนเอง ครอบครัวและสังคมกำหนดไว้ความมีระเบียบวินัย
ช่วยให้สังคมเป็นระเบียบเรียบร้อย บ้านเมืองมีความร่มเย็นเป็นสุขและเจริญรุ่งเรือง
3.ความชื่อสัตย์หมายถึงการปฏิบัติตนทางกายวาจา ใจ ที่ตรงไปตรงมาไม่แสดงความคดโกง ไม่หลอกลวง ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น
มีความจริงใจต่อกันเป็นที่ไว้วางใจของคนทั่วไปเราจะพบและได้ยินว่าบ่อยครั้งที่พนักงานบริษัทใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตัวเองใช้ทำงาน
ให้บริษัทมาใช้ส่วนตัวไม่ว่าจะเป็นการใช้เล่นอินเตอร์เน็ต การใช้ทำงานส่วนตัว นี่คือตัวอย่างหนึ่งของการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่นและ
คดโกงต่อองค์กรที่ตนทำงาน หรือกรณีที่เด็กนักเรียนเข้าไปในฐานข้อมูลการตัดเกรดของโรงเรียนแล้วเปลี่ยนระดับคะแนน
ที่ตัวเองได้รับ ก็จะเป็นการแสดงออกถึงการขาดความซื่อสัตย์
4. ความเสียสละ หมายถึง การปฏิบัติตนโดยอุทิศกำลังกาย กำลังทรัพย์ กำลังปัญญาเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นและ
สังคมด้วยความตั้งใจจริงมีเจตนาที่บริสุทธิ์ ซึ่งจะทำให้ตนเองมีคนรักใคร่เคารพนับถือไว้วางใจเป็นที่ยกย่องของสังคม ความเสียสละเป็นจริยธรรมที่จะที่จะช่วยให้สังคมดำเนินไปด้วยความราบรื่น คนเรานั้นไม่เท่ากันทั้งฐานะ ความรู้ ความสามารถ หากผู้คนดูแลแต่เรื่องของตนไม่ไยดีกับคนข้างเคียงคนเราก็จะอยู่กันไม่เป็นปกติสุข
5.ความอดทน หมายถึง ความเป็นผู้มีจิตใจเข้มแข็งไม่ท้อถอยต่ออุปสรรคใดๆ มุ่งมั่นทำงานให้บังเกิดผลดีโดยไม่ให้ผู้อื่นเดือดร้อน
ซึ่งมี 4 ลักษณะด้วยกัน คือ
- อดทนต่อความยากลำบาก เจ็บป่วยได้รับทุกขเวทนาก็ไม่แสดงอาการจนเกินกว่าเหตุ
-อดทนต่อการตรากตรำทำงาน ไม่ทอดทิ้งงาน ฟันฝ่าอุปสรรคจนประสบผลสำเร็จซึ่งเราควรที่จะยึดหลักปรัชญาของพลตรีหลวงวิติตรวาทการที่ว่า “ แม้ข้าพเจ้าจะแพ้คนอื่นในเรื่องอื่นบ้าง แต่ข้าพเจ้าไม่แพ้ใครในเรื่องความพากเพียร” เพราะคนเรานั้นอาจจะเกิดมาสูงต่ำดำขาวได้เหมือนกันแต่เราแต่เราทุกคนสามารถสร้างความพากเพียรได้
-อดทนต่อความเจ็บใจ ไม่แสดงความโกรธ ไม่โต้ตอบคนที่ทำให้เราโกรธ ไม่อาฆาตพยาบาท อดทนต่อคำเสียดสี
-อดทนต่อกิเลส คือไม่อยากได้ของผู้อื่นจนเกินทุกข์และไม่หลุมหลงในสิ่งที่จะพาเราไปพบกับความเสื่อมเสีย ผลของการมีกิเลสและใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิดคือ กรณีที่ตำรวจจับชายคนหนึ่งซึ่งเขาไปเปลี่ยนแปลงข้อมูลการใช้ยาของภรรยา
ในฐานข้อมูลของแพทย์ประจำตัวของเธอโดยหวังให้เธอกินยาผิดขนาดและถึงแก่ชีวิตเพราะหวังเงินประกันชีวิตของเธอ
บ้างครั้งแฮกเกอร์ไปเป็นแครกเกอร์ จากเดิมที่เคยยึดคติของโรบินฮูดคือ ปล้นจากคนรวยให้คนจน
ก็กลายเป็นปล้นจากคนรวยให้ตัวเอง ในสหรัฐอเมริกาแครกเกอร์โดยเฉลี่ยทำเงินเข้ากระเป๋าตัวเองปีละ 20 ล้านบาท
6. หมายถึง การงดเว้นจากความชั่วร้ายหรือสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นซึ่งจะทำให้จิตรใจหดหู่เศร้าหมอง ซึ่งมี 3 ลักษณะ คือ
-การไม่ทำบาปทางกาย ไม่ฆ่าสัตย์ ไม่ทุจริต ไม่ลักขโมย ไม่ผิดประเพณี เช่น การขโมยอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ต่างๆ ขององค์ที่ตนเองทำงานอยู่ไปขายหรือประโยชน์เพื่อตัวเอง
-การไม่ทำบาปต่อว่าจา เช่น ไม่โกหก ไม่กล่าวคำหยาบคาย ไม่ใส่ร้าน ไม่พูดเพ้อเจ้อ ตัวอย่างของการทำบาป
ดังกล่าวที่พบเห็นในอินเทอร์เน็ตคือ การกล่าวร้ายด้วยคำหยาบและคำเท็จทางเว็บบอร์ดว่าเขามีเพศสัมพันธ์กับเด็กอายุ 14 ปี และเด็กกำลังตั้งครรภ์ซึ่งหลังจากสร้างความวิตกกังวลต่าง ๆ นานาให้ผู้คนที่เขามาอ่านกระทู้ และตำรวจได้ตามจับกุมชายผู้นั้นได้ที่สุดซึ่งปรากฏว่าชายผู้นั้นเป็นการส่งข้อความในลักษณะขบขันคลายเครียดไม่มีมูลความจริงประการใด
-การไม่ทำบาปทางใจ เช่น ไม่คิดเนรคุณ ไม่คิดอาฆาตไม่คิดอยากได้ กรณีคนขางบ้านของร้านเสริมสวยที่ไม่ถูกกันนำเอา
เบอร์โทรศัพท์ลงในเว็บบอร์ด และบอกว่าเป็นสถานบริการก็เป็นตัวอย่างที่บ่งบอกถึงการนำความรู้ที่ตนเองมีไปใช้แก้แค้นในทางที่ผิด หรือชายหนุ่มนำเบอร์ดีดคนรักไปโพสต์ไว้ในเว็บบอร์ดแล้วบอกว่าเธอขายตัวให้คนโทรศัพท์มาหาได้ ก็เป็นตัวอย่างอีกอย่างหนึ่งที่บ่งบอก
ถึงการนำความรู้ที่ตัวเองมีไปแก้แค้นในทางที่ผิด
7.ความสามัคคี หมายถึง การที่ทุกคนมีความพร้อมกาย พร้อมไจ และพร้อมความคิดเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
มีความมุงหมายที่จะปฏิบัติงานให้สำเร็จโดยไม่มีการเงียงงอนหรือชิงดีชิงเด่นทุกคนช่วยกันมุ่งหวังที่จะให้สังคมประเทศชาติรุ่งเรือง ในกรณีของการขายข้อมูลขางด้านการค้าที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์บริษัทตัวเองของพนักงานที่ไม่ได้เลื่อนขั้นตามที่ตัวเองคิดไว้หรือ
เกลียดแค้นบริษัทด้วยเหคุผลอะไรก็ตามแต่ (เหตุไม่ดีเป็นส่วนใหญ่)ให้กับบริษัทคู่แข่งก็เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความอิจฉาริษยา
และการแตกความสามัคคีของคนในหมู่คณะเดียวกันหรือบางครั้งอาจจะไม่ขายข้อมูลให้ใครแต่ทำลายข้อมูลเฉย ๆ
ในการเรียนรู้ และการฝึกอบรมเพื่อสะสมประสบการณ์ของชีวิตในทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์นั้นมนุษย์ควรได้รับการปลูกฝังจริยธรรมไปด้วยพร้อมๆ กัน เพราะจริยธรรมมีความสำคัญอย่างมากซึ่งความสำคัญของจริยธรรมที่มีต่อมนุษย์คือ
-ช่วยให้ชีวิตดำเนินไปด้วยความราบรื่นและสงบ ถ้าคนในสังคมมีจริยธรรม
-สังคมก็จะสงบสุขไม่มีการข่มเหงเบียดเบียนกัน ทุกคนช่วยกันแก้ไขปัญหาและอุปสรรที่มีอยู่และพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญมั่นคงเป็นปึกแผ่น
-ให้คนเรามีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา ไม่เผลอตัวไม่ลืมตัว จะประพฤติปฏิบัติในสิ่งใดก็จะระมัดระวังอยู่เสมอ
จริยธรรมที่มีอยู่ในแต่ละตัวแต่ละคนจะเตือนสติให้รักษาเกียรติยศชื่อเสียงของตนเองและวงศ์ตระกูลไม่ไปเบียดเบียดผู้อื่น รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้ที่ด้อยโอกาสว่า สังคมก็จะสงบสุข ประเทศชาติก็จะมั่งคง จากการสำรวจอาชญากรทางคอมพิวเตอร์ในอเมริกาพบว่า 20 % เป็นคนหนุ่มสาววัยเรียนอายุตั้งแต่ 18-30 ปี เหตุผลที่อาชญากรคอมพิวเตอร์มักจะมีอายุน้อยก็เพราะเด็กวัยรุ่นมักมีหัวรุนแรง มีความใจกล้า และมักจะไม่คอยคิดหน้าคิดหลัง
เหมือนผู้สูงอายุ ความเสียหายที่เกิดจากอาชญากรรมคอมพิวเตอร์มีค่ามหาศาล ในปีหนึ่งๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นมีค่าถึง
175,000 ล้านบาท
-ช่วยสร้างความมีระเบียบให้แก่บุคคลในชาติ โดยตะเป็นตัวกำหนดการประพฤติปฏิบัติของบุคคลให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่
คนส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับว่าถูกต้อง กฎเกณฑ์นั้นจะมาจากความพอใจของคนเพียงคนเดียวไม่ได้ เมื่ออยู่คนเดียวย่อมเป็น
ไปไม่ได้เมื่อบุคคลประพฤติตามจริยธรรมของสังคมชีวิตก็จะมีระเบียบไม่ต้องพบกับอุปสรรค ถ้าทุกคนปฏิบัติเหมือนกันสังคมและ
ประเทศชาติก็จะเป็นระเบียบตามไปด้วย
-ช่วยควบคุมไม่ให้คนชั่วมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่นนับว่าเป็นคุณแก่สังคมเพราะนอกจาก
จะเป็นตัวอย่างโดยการชี้นำทางอ้อมแล้ว ยังจะช่วยแนะนำสั่งสอนโดยตรงอีกด้วย เช่น แนะนำให้แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม
ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ได้จนสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น สำหรับผู้ที่ปฏิบัติดีจรเป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่นได้นั้น ต้องปฏิบัติตนให้เสมอต้นเสมอปลายมิฉะนั้นผู้ที่ต้องการยึดเราเป็นตัวอย่างอาจหมดความศรัทธาและหมดกำลังใจหันกลับไป
ทำความชั่วเช่นเดิมอีก
-ช่วยทำให้มนุษย์นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ร่ำเรียนมาสร้างสรรค์แต่สิ่งที่ดีมีคุณค่า ถ้ามนุษย์นำความรู้และประสบการณ์มาใช้
ในการประกอบอาชีพที่สุจริต ย่อมสร้างสรรค์คุณประโยชน์ให้แก่คนทั่วไปรวมทั้งสังคมและประเทศชาติด้วย แต่ในทางตรงกันข้าม
ถ้ามนุษย์ขาดจริยธรรม ก็จะนำความรู้และประสบการณ์ที่มีไปเบียดเบียนเอาเปรียบผู้อื่น สร้างความเสียหายให้สังคม
และประเทศชาติเพียงเพื่อหวังให้ตนเองมีทรัพย์ มีสุข ผู้อื่นจะทุกข์อย่างไรก็ไม่คำนึงถึงเช่น โจรไซเบอร์ที่ขโมยหมายเลขบัตรเครดิตคนอื่น
และซื้อของออนไลน์ให้ตนเอง หรือการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ผลิตแบงค์ปลอมหรือใบขับขี่ปลอม เป็นกรณีที่แสดงได้อย่างชัดเจน
ถึงการนำความรู้ที่ตนเองมีมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง
-ช่วยควบคุมความเจริญทางด้านวัตถุและจิตใจของคนให้เติบโตไปพร้อมๆ กัน ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าด้านวัตถุหรือ
เทคโนโลยีมากขึ้น ถ้ามนุษย์นำความเจริญนี้มาใช้ในทางที่ผิดเช่น สร้างโปรแกรม Network Sniffer เพื่อดักรหัสผ่านในเน็ตเวิร์ก และนำไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง หรือการปล่อยไวรัสตัวแล้วตัวเล่ามาทำรายระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟท์ ไม่ว่าจะเป็นเมลิซ่า เลิฟบั๊ก เรดนิมด้า สาเหตุมาจากความอิจฉาริษยาที่ผู้คนนิยมใช้ซอฟต์แวร์ของบริษัท ไมโครซอฟท์ ความเดือดร้อนก็จะเกิดแก่คนทั่วไป แต่ถ้าผู้คิดค้นเทคโนโลยีของไวรัสเหล่านี้มีจริยธรรมเหตุการณ์เหล่านี้ก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะผู้ผลิตมีจิตใจสงบสุข จึงคิดแต่สิ่งสร้างสรรค์และมีคุณค่าต่อคนในสังคมและประเทศชาติ
บุคลิกของนักคอมพิวเตอร์
บุคลิกภาพหมายถึงพฤติกรรมที่เป็นภาพรวมของบุคคล ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของแต่ละบุคคลที่รวมกันแล้วทำให้บุคคลนั้นแตกต่างจากบุคคลอื่น พฤติกรรมที่แสดงออกในลักษณะต่าง ๆ เหล่านั้น ได้แก่ อุปนิสัย นิสัยใจคอ ทัศนคติ และความรู้สึกนึกคิดเป็น
ลักษณะของบุคลิกภาพที่พึงประสงค์จากการศึกษาและค้นคว้าวิจัยของนักจิตวิทยา และนักการศึกษาเกี่ยวกับบุคลิกภาพของมนุษย์ ทำให้ได้ข้อสรุปว่า บุคคลควรมีลักษณะของบุคลิกภาพที่พึงประสงค์เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข และลักษณะของบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ของสังคม ควรมีลักษณะดังนี้
1. ควรเป็นผู้ที่เจริญด้วยวุฒิภาวะ
2.ควรเป็นผู้มีความพร้อม
3.ควรเป็นผู้มีบุคลิกภาพพอดีบุคลิกภาพของนักคอมพิวเตอร์ งานอาชีพคอมพิวเตอร์เป็นงานที่ต้องรับผิดชอบร่วมกับบุคคลหลายระดับบางครั้งอาจเป็นบุคคลต่างสาขาอาชีพ ดังนั้นการประกอบอาชีพงานคอมพิวเตอร์จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงบุคลิกภาพที่เหมาะสมรวมทั้งผู้มีอาชีพนักคอมพิวเตอร์จะต้องเรียนรู้ ความชำนาญในวิชาชีพด้วย และจำเป็นต้องเรียนรู้และฝึกฝนในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและสร้างความประทับใจให้แก่ลุกค้าผู้มาติดต่อ นายจ้าง รวมทั้งเป้าหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสายงานทั้งทางตรงและทางอ้อมงานของนักคอมพิวเตอร์จะดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ หรือไม่นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ แต่ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งก็คือ บุคลิกภาพคนส่วนมากมักจะคิดว่านักคอมพิวเตอร์จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถดีมีประสบการณ์ในการทำงานมาเป็นอย่างดี แต่ลืมนึกถึงเป็นส่วนประกอบปลีกย่อยที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง คือ บุคลิกภาพ ถึงแม้บุคลิกภาพจะเป็นประกอบเสริม แต่ก็เป็นการทำให้ภาพลักษณ์โดยรวมที่ทำให้งานอาชีพประสบผลสำเร็จโดยไม่แพ้องค์ประกอบด้านอื่น ๆ
การพัฒนาบุคลิกภาพเพื่องานอาชีพงานอาชีพคอมพิวเตอร์นับว่ามีความสำคัญต่อหน่วยงาน สถาบัน และองค์กรทางธุรกิจต่าง ๆ มากมาย ดังนั้นผู้ที่เป็นนักคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีบุคลิกที่เอื้ออำนวยให้เกิดภาพลักษณ์ในทางบวกต่อตนเองและงานอาชีพ ในที่จะขอกล่าวบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ในงานคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นการพัฒนาปรับปรุงบุคลิกภาพให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดความเชื่อถือศรัทธา และเป็นที่ยอมรับของผู้ที่มาติดต่อสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าผู้ใช้บริการ หรือนายจ้างบุคลิกของนักคอมพิวเตอร์จึงมีส่วนช่วยในการทำงานประสบความสำเร็จ ฉะนั้นจึงควรมีการพัฒนาบุคลิกภาพด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้
1. รู้จักพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รอบรู้
2. รู้จักฝึกตนเองให้มีความอดทน3. รู้จักฝึกตนเองให้เป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง
4. รู้ปรับตัวในด้านความสัมพันธ์ดี5. รู้จักปรับตัวให้ทำงานกับผู้อื่นได้
6. รู้จักตนเองให้เป็นคนตรงต่อเวลาในการนัดหมาย7. รู้จักฝึกตนเองให้มีความรับผิดชอบในการ
8.รู้จักดูแลตนเองในด้านการแต่งกายให้เหมาะสมกับงานและตำแหน่งเครื่องแต่งกายที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพให้แก่ผู้ที่พบเห็นได้อีกด้วย9. รู้จักคิดและพัฒนาอุปนิสัยให้คนซื่อสัตย์ และมีความจริงใจต่อผู้อื่น
10. รู้จักการทำตนให้เป็นคนกล้ายอมรับความจริง