ความหมายของ จริยธรรมจริยธรรม หมายถึง ข้อที่ควรประพฤติปฏิบัติ เป็นธรรมะทางใจที่ควบคุมพฤติกรรม ความประพฤติที่ดีที่ชอบที่ถูกที่ควร เป็นเรื่องของความรู้สึกในการพัฒนาตนเอง ที่มุ่งหมายให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ดำรงชีวิตอยู่อย่างบริบูรณ์เปี่ยมไปด้วยความดีทั้งกายวาจาและใจจริยะหรือ จริยา คือ ความประพฤติ การกระทำ เมื่อสมาสกับคำว่า ธรรม หรือ ธรรมะ จึงเป็นความประพฤติที่ถูกต้องตามครรลองครองธรรม ชอบธรรม เป็นธรรมชาติจริยธรรมเป็นเรื่องสำคัญในการทำงาน ควบคู่กับ วินัย อันเป็นข้อห้ามหรือข้อบังคับให้ต้องปฏิบัติ สำหรับข้าราชการก็ให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการดังนั้น จริยธรรม จึงเป็นความประพฤติ การกระทำและความคิดที่ถูกต้องดีงาม รวมถึงการทำหน้าที่ของตนให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เว้นในสิ่งที่ควรละเว้น ประกอบการและดำรงชีวิตอย่างฉลาด ด้วยสติและปัญญา รู้เหตุรู้ผลรู้กาลเทศะ กระทำทุกอย่างด้วยความรอบคอบ เสียสละอุทิศตน มุ่งมั่นและบากบั่นจริยธรรมจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นยิ่งสำหรับทุกคน ทุกหมู่เหล่าและทุกอาชีพ สังคมจะอยู่รอดและเป็นสุขได้ ก็ด้วยจริยธรรม
• ถึงสูงศักดิ์ อัครฐาน สักปานใด
• ถึงวิไล เลิศฟ้า สง่าศรี
• ถึงฉลาด กาจกล้า ปัญญาดี
• ถ้าไม่มี คุณธรรม ก็ต่ำคน
ความสำคัญของจริยธรรม จริยธรรม จึงเป็น…เครื่องมือยุทธศาสตร์ของชาติ และ สังคมเครื่องชี้วัดความเจริญความเสื่อมของสังคมหัวใจของการพัฒนาที่ยั่งยืน การพัฒนาที่เหนือกว่าความเจริญทางวัตถุรากฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข การยอมรับนับถือซึ่งกันและกันของทุกคนและทุกกลุ่มในสังคมรากฐานของความเข้มแข็งของชาติ กองทัพ และกลุ่มอาชีพเรื่องของการพัฒนาคุณภาพชีวิต ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเป็นอำนาจกำลังรบที่ไม่มีตัวตน และเป็นตัวคูณอำนาจกำลังรบ
จากการศึกษาสามารถสรุปความหมายของ จริยธรรมทางธุรกิจ ได้ดังนี้ | |
จริยธรรมทางธุรกิจ คือ การทำธุรกิจอย่างมีจริยธรรม หมายถึง เป็นผู้ | |
ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตจำหน่าย หรือบริการด้วยจริยาวัตรที่ดีงาม ผู้คุณธรรม มีมารยาท ซึ่งตรงยุติธรรม | |
จริยธรรมทางธุรกิจ เป็นมาตรฐานของการประกอบธุรกิจ การผลิตสินค้า การ | |
ให้บริการการจัดจำหน่ายเพื่อได้รับผลตอบแทนตามสมควรกับการที่ลงทุนไปอย่าง เป็นธรรม ต่อทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผลิตหรือผู้โภคเจ้าของกิจการ ผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร ผู้ร่วมงาน ผู้รับบริการ รัฐบาลสังคม ซึ่งต่างมีความสัมพันธ์เชิงธุรกิจร่วมกัน | |
จริยธรรมทางธุรกิจ หมายถึง กลไกทุกส่วนที่ให้ความชอบธรรมเพื่อ | |
ประสิทธิภาพสูงสุดของธุรกิจ |
ในทางพระพุทธศาสนาได้แบ่งระดับของธรรมอันเป็นที่มาของจริยธรรมไว้เป็น 2 ระดับ ดังนี้
1. ระดับโลกียธรรม โลกียธรรม หมายถึง ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก สภาวะธรรมที่เกี่ยวกับโลก เป็นธรรมในระดับเบื้องต้นของบุคคล จริยธรรมในระดับโลกียธรรมมุ่งให้บุคคลอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ทำแต่ความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส จริยธรรมในระดับนี้เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปจะนำไปประพฤติปฏิบัติ การประพฤติปฏิบัติโดยทั่วไปจะนำคำสั่งสอนหรือพุทธวัจนะมาเป็นแนวทางในการกำหนดขอบข่ายของจริยธรรมของแต่ละองค์กรในสังคมให้มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เช่น ระเบียบของสังคม จารีต ขนบธรรมเนียม ประเพณี กฎกติกา ข้อบัญญัติ กฎหมายต่าง ๆ เป็นต้น
2. ระดับโลกุตรธรรม โลกุตรธรรม หมายถึง ธรรมที่พ้นวิสัยของโลก สภาวะพ้นโลก พ้นจากกิเลส เป็นธรรมในระดับสูง หรือธรรมสำหรับบุคคลผู้มีสติปัญญาแก่กล้าเข้าใกล้ความเป็นอริยบุคคลหรือผู้หลุดพ้นจากกิเลส ธรรมในระดับนี้แบ่งตามสภาวธรรมของบุคคลเป็น 4 ระดับ คือ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี และอรหันต์ ธรรมที่กล่าวมานี้เป็นธรรมหรือข้อปฏิบัติที่ผู้ประพฤติมีความมุ่งมั่นที่จะฝึกฝนตนเองทั้งกาย วาจา ใจ อย่างระมัดระวังและเคร่งครัดในคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ถือเป็นข้อปฏิบัติที่มีวิถีทางที่แตกต่างไปจากจริยธรรมในระดับ โลกียธรรมของบุคคลธรรมดาทั่วไปโดยสิ้นเชิง
1) ระเบียบวินัย (Discipline) การที่สังคมจะมีระเบียบวินัย ในสังคมจะต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นไปตามข้อตกลงของสังคม อันได้แก่ กฎหมาย จารีต ประเพณี
2) สังคม (Society) การรวมกลุ่มกันเป็นสังคมหรือประกอบกิจกรรมใด ในสังคมก็ตามจะต้องมีแบบแผน มุ่งเน้นหรือเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
3) อิสระเสรี (Autonomy) การมีอิสระเสรีนั้นสังเกตได้จากการที่บุคคลในสังคมมีเสรีภาพในการปกครองตน
5.ประเภทของจริยธรรม
จริยธรรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1) จริยธรรมภายนอก เป็นจริยธรรมที่บุคคลแสดงออกทางพฤติกรรมภายนอกที่ปรากฏให้เป็นที่สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น ความรับผิดชอบ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยความมีวินัย การตรงต่อเวลาเป็นต้น
2) จริยธรรมภายใน เป็นจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิดหรือทัศนคติของบุคคลิตามสภาพของจิตใจและสภาวะแวดล้อม เช่น ควงาใมซื่อสัตย์ ความยุติธรรม ความเมตตากรุณา ความกตัญญูกตเวที เป็นต้น
6.คุณลักษณะของจริยธรรม
คุณลักษณะของจริยธรรมเป็นสิ่งที่แสดงลักษณะเฉพาะของจริยธรรมเพื่อให้เห็นเด่นชัดในด้านหนึ่งและมีความแตกต่างจากจริยธรรมด้านอื่น ๆ ทั้งนี้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านการศึกษาหลายหน่วยงาน ได้กำหนดโครงสร้างจริยธรรม พร้อมทั้งกำหนดคุณลักษณะของจริยธรรม ไว้ดั้งนี้
1) ความรับผิดชอบ หมายถึง การปฏิบัติหน้าที่อย่างตั้งใจ มีความละเอียดรอบคอบ มีความพากเพียรพยายามเพื่อให้งานหรือภาระที่รับผิดชอบอยู่บรรลุผลสำเร็จตรงตามเป้าหมาย
2) ความซื่อสัตย์ หมายถึง การประพฤติปฏิบัติตนอย่างตรงไปตรงมาตรงต่อความเป็นจริง ทั้งการ วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น
3) ความมีเหตุผล หมายถึง การรู้จักใช้สติปัญญา ไตร่ตรอง คิดใคร่ครวญ หรือพิสูจน์ สิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ประจักษ์ โดยไม่ผูกพันกับอารมณ์ และความยึดมั่นในความคิดของตนเอง
4) ความกตัญญูกตเวที หมายถึง ความรู้สึกสำนึกในบุญคุณของบุคคลผู้มีอุปการะคุณ หรือ สิ่งอันมีคุณต่อมนุษย์เรา และแสดงออกถึงความสำนึกในบุญคุณนั้นด้วยการตอบแทนคุณ อาจกระทำด้วยสิ่งของหรือการกระทำอย่างนอบน้อม
5) ความอุตสาหะ หมายถึง ความพยายามอย่างยิ่งยวด เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จในการงานหรือกิจกรรมที่ทำด้วยขยันขันแข็งกระตือรือร้น อดทน ถึงแม้จะประสบปัญหาหรืออุปสรรคขัดขวางก็ไม่ยอมแพ้และไม่ย่อท้อ
6) ความสามัคคี หมายถึง ความพร้อมเพียงเป็นนำหนึ่งใจเดียวกัน การให้ความร่วมมือในการกระทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จลุล่วงด้วยดีโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว รวมทั้งมีความรักในหมู่คณะของตน
7) ความมีระเบียบวินัย หมายถึง การควบคุมความประพฤติของตนเองให้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับจรรยามารยาททางสังคม กฏ ระเบียบข้อบังคับ กฏหมายและศลีธรรม
ความเสียสละ หมายถึง การลดละความเห็นแก่ตัว การแบ่งปันแก่คนที่ควรให้ด้วยทรัพย์สิน กำลังกาย และกำลังปัญญาของตนเอง
9) ความประหยัด หมายถึง การใช้สิ่งของหรือใช้จ่ายอย่างระมัดระวังและพอเหมาะพอควร เพื่อให้เกิดประโยชนสูงสุด ไม่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ้มเฟือยจนเกิดฐานะของตน
10) ความยุติธรรม หมายถึง การปฏิบัติตนด้วยความเที่ยงตรง การพิจารณาเรื่องราวต่างๆ จะต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ไม่มีความลำเอียงหรือเข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
11) ความเมตตากรุณา หมายถึง ความรักใคร่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุขและมีความสงสารอยากจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นจากความทุข์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น